ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์ 16, 2016

การหมดไฟ (Burnout) ประเภทของการหมดไฟทางการกีฬา

ประเภทของการหมดไฟทางการกีฬา ประเภทของการหมดไฟทางการกีฬา 1. การหมดไฟแบบชั่วคราว เป็นการแสดงถึงภาวะทางจิตใจและความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากสภาวะทางอารมณ์ทำให้มีการตอบสนองต่อผู้อื่นทางลบ เกิดความรู้สึกรับรู้ความมีคุณค่าในตนเองต่ำลง และมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้น ซึ่งหากนักกีฬาได้รับการช่วยเหลือให้ผ่านพ้นภาวะนี้ไปได้จะสามารถกลับมาเล่นกีฬาได้เช่นเดิม 2. การหมดไฟแบบถาวร จะมีผลทำให้นักกีฬาหยุดหรือเลิกการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาโดยไม่กลับเข้าสู่การเล่นกีฬาชนิดนั้นอีก แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้นักกีฬายังคงสามารถอยู่กับกีฬานั้น เช่น เงินรางวัล ความกดดัน และความคาดหวังจากพ่อแม่หรือผู้ฝึกสอนทำให้ตนเองยังคงต้องอยู่กับกีฬานั้นจะด้วยความจำเป็นหรือความความกดดันก็ตาม ในการศึกษาระยะยาวพบว่านักกีฬาที่ต้องอยู่กับการเล่นกีฬาด้วยปัจจัยที่มาจากความจำเป็นมากกว่าความต้องการที่แท้จริงหรือความสนุก ในไม่ช้านักกีฬาจะหยุดเล่นกีฬาไม่ช้าก็เร็วขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความอดทนของนักกีฬาแต่ละบุคคล สาเหตุของการหมดไฟทางการกีฬา 1. สถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ปัจจัยที่เกิดจากด้านร่างกายเช่น การได้รับบาดเ

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)

การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking)   การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน ( New Original) ใช้การได้ ( Workable) และมีความเหมาะสม ( Appropriate) การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า "นวัตกรรม" ( Innovation) ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking 2. เป็นการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร หรือ Constructive thinking 3. เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ ม

บุคลิกภาพทางการกีฬา (Personality of Sport) (การประเมินบุคลิกภาพ)

การประเมินบุคลิกภาพ        การประเมินบุคลิกภาพ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อต้องการให้บุคคลได้รับรู้ตนเองว่ามีบุคลิกภาพอย่างไร อีกทั้งยังเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและปรับปรุงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากผลรวมของลักษณะทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะบุคลิกภาพส่วนใหญ่มักมาจากลักษณะภายในจิตใจของตนเอง ซึ่งมีทั้งซ่อนเร้นอยู่และบางส่วนตนเองสามารถรับรู้ได้ ดังนั้นนักจิตวิทยาจึงมีความพยายามที่จะค้นหาวิธีการต่างๆ ในการดึงส่วนที่เป็นบุคลิกภาพภายใน เช่น นิสัยใจคอ ความคิด ความเชื่อ เจตคติ อารมณ์ ออกมาเพื่ออธิบายลักษณะภายนอกต่างๆ สำหรับวิธีการประเมินบุคลิกภาพสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ 1 . การสังเกต เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากสำหรับนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมการสังเกตเป็นวิธีการทางธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ในการศึกษาจิตวิทยานั้นต้องมีหลักเกณฑ์รูปแบบ และวิธีการแปลความหมายที่แน่นอน ที่สำคัญต้องไม่นำความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด พฤติกรรมที่สังเกตนั้นอาจเป็นพฤติกรรมทั่วไปหรือพฤติกรรมเฉพาะ ข้อดีของวิธีการสังเกต คือ การเห็นพฤติกรรมแบบตรงไปตรงม

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

บุคลิกภาพทางการกีฬา (Personality of Sport)

บุคลิกภาพทางการกีฬา (Personality  of  Sport) ความหมายของบุคลิกภาพทางการกีฬา บุคลิกภาพ ( Personality) มาจากคำในภาษาลาตินว่า “ Persona” แปลว่า หน้ากาก ซึ่งหมายถึงหน้ากากที่ชาวกรีกใช้ในการแสดงละคร เมื่อสวมหน้ากากเป็นตัวอะไรก็ต้องแสดงบทบาทไปตามตัวละครนั้น นักจิตวิทยาการกีฬาให้นิยามของ “ บุคลิกภาพทางการกีฬา” ไว้ว่าบุคลิกภาพทางการกีฬา หมายถึง คุณลักษณะโดยรวมทั้งหมดของบุคคลหรือนักกีฬา ซึ่งประกอบด้วย คุณลักษณะภายนอก ได้แก่ รูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง และคุณลักษณะภายใน ได้แก่ นิสัยใจคอ ความคิด ความเชื่อ เจตคติ ค่านิยมและอารมณ์ ซึ่งคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้เป็นตัวกำหนดรูปแบบของพฤติกรรมการแสดงออกทางการกีฬาจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อันมีผลทำให้บุคคลหรือนักกีฬาคนนั้นแตกต่างจากบุคคลอื่น นอกจากนั้นบุคลิกภาพยังเป็นผลร่วมอย่างมีระบบของพฤติกรรมต่างๆ ตลอดจนเจตคติและค่านิยม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะนิสัยเฉพาะตัวบุคคล อาจกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างคงเส้นคงวาซึ่งทำให้บุคคลมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีความเฉพาะเจาะจง ดังนั้นการศึกษาเรื่อบุคลิกภาพทางก

Mental Toughness(การพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจ)

การพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจ ความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาสามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ ด้วยวิธีการฝึกจิตใจ 7 ประการ คือ การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมพลังงานเชิงลบ การควบคุมสมาธิ การจินตภาพ การสร้างแรงจูงใจ การสร้างพลังงานเชิงบวก และ การควบคุมเจตคติให้เป็นเชิงบวก ดังต่อไปนี้ 1. การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นอารมณ์และความรู้สึกทางบวกที่มีความสำคัญต่อการแสดงความสามารถทางการกีฬานักกีฬาสามารถพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองได้ เช่น การพูดกับตนเองทางบวกอยู่เสมอมีความเชื่อในความสามารถของตนเองและเพื่อนร่วมทีมว่าสามารถประสบความสำเร็จได้ 2. การควบคุมพลังงานเชิงลบ พลังงานเชิงลบเป็นความรู้สึกกังวลที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะผิดหวัง ล้มเหลว การรู้สึกว่าตนเองมีความไม่ปกติด้านความคิด มีความกลัว มีความคาดหวังความสำเร็จต่ำ มีความไม่แน่ใจในความสามารถของตนเอง และมีความรู้สึกผิดปกติทางร่างกาย ดังนั้นการควบคุมพลังงานเชิงลบจึงเป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ไม่ดี เช่น กลัว ท้อแท้ โกรธ ไม่พอใจที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีความกดดัน 3. การควบคุมสมาธิหรือความตั้งใจ

ความเข้มแข็งทางจิตใจ(Mental Toughness)

ความเข้มแข็งทางจิตใจ( Mental Toughness) ความเข้มแข็งทางจิตใจ คือ ความสามารถของนักกีฬาที่จะต่อสู้กับสภาวะกดดันทั้งระหว่างการแข่งขันหรือระหว่างฝึกซ้อมได้โดยไม่ย่อท้อแต่ในทางตรงข้ามนักกีฬากลับมีความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายแลชัยชนะอย่างเข้มแข็ง มีความรู้สึกที่จะต่อสู้กับแรงปะทะจากภายนอกและภายในจิตใจของตนเอง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความเข้มแข็งทางจิตใจสามารถสร้างให้เกิดขึ้นกับนักกีฬาทุกคนได้ หากมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาในระดับสูงขึ้น เพราะความเข้มแข็งทางจิตใจสามารถพัฒนาได้เช่นเดียวกับการฝึกซ้อมทางร่างกาย      สุพัชรินทร์ และอภิลักษณ์ (2555) พบว่านักกอล์ฟอาชีพไทยที่ได้รับการฝึกด้านจิตใจมีระดับความเข้มแข็งทางจิตใจสูงขึ้น และส่งผลให้ความสามารถในการพัตต์กอล์ฟดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกด้านจิตใจ นอกจากนั้น สนั่น (2536)ยังพบว่าผู้ฝึกสอนกีฬาทีมชาติไทยและผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัย มีการใช้ทักษะทางจิตใจเพื่อทำให้นักกีฬามีจิตใจเข้มแข็ง และมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งประกอบด้วย การตั้งเป้าหมาย การเสริมพฤติกรรมฮึกเหิม การสร้างแรงจูงใจ และการเป็นผู้นำ