ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม 24, 2016

การออกกาลังกายเพื่อลดไขมัน

การออกกาลังกายเพื่อลดไขมัน      คนที่ต้องการลดไขมัน ต้องใช้ระยะเวลาออกกาลังกายนานขึ้น ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อเริ่มออกกาลังกาย ร่างกายจะใช้คาร์โบไฮเดรต ในสัดส่วนที่มากกว่าไขมัน แต่เมื่อออกกาลังกาย ไปประมาณ 20 นาทีอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะใช้ไขมันมาสันดาปเป็นพลังงานพอๆ กับคาร์โบไฮเดรต ถ้าเราออกกาลังกายนานกว่า 45 นาทีได้อย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะหันมาสลายไขมันมาเป็นพลังงาน ในสัดส่วนที่มากกว่าคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถ้าจะออกกาลังกายได้นานขนาดนั้น เราต้องลดความหนัก (Intensity) ลดลง โดยทั่วไปก็จะอยู่ในช่วง 60% ถึง 70% ของชีพจรสูงสุด        การออกกาลังกายหนักๆ แต่นานไม่ถึง 15 นาที แม้จะสูญเสียพลังงานไปมาก ก็ไม่ได้หมายความว่าจะลดไขมันได้ดี เพราะพลังงานที่สูญเสียไปมาจากคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ถ้ายิ่งออกกาลังกายหนักมาก ร่างกายก็จะเริ่มใช้ระบบ Anaerobic เข้าช่วย เพราะพลังงานจากระบบ Aerobic สร้างพลังงานไม่ทันที่จะใช้ในการออกกาลังกายหนักขนาดนั้นได้ ซึ่งระบบ Anaerobic นี้ไม่สามารถใช้ไขมันมาสลายเป็นพลังงานสาหรับระบบได้ แต่สลายเฉพาะคาร์โบไฮเดรต ผลผลิตที่ได้ส่วนหนึ่งคือ กรดแลคติค (Lactic acid) ทาให้กล้ามเนื้อมีประ

Stretching exercise

หลักการของ Stretching exercise - ควรยืด (Stretching) โดยใช้แรงน้อยๆ ก่อนและทาค้างนานๆ (Static stretching) ดีกว่าการใช้ แรงมากๆ แต่ทาด้วยเวลาสั้นๆ - ไม่ควรดัดโดยการออกแรงกระตุกซ้าๆ (Ballistic stretching) เพราะทาให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย - ขนาดแรงที่เหมาะสมคือ แรงพอที่จะยืดเนื้อเยื่อได้โดยไม่มีการบาดเจ็บและผู้ป่วยทนได้ การดัดมักได้ผลดีถ้ามีการเจ็บเล็กน้อย และอาการเจ็บนั้นหายไปหลังจากหยุดการดัดไม่นานกว่า 24 ชั่วโมง - การยืดเอ็นขณะที่ข้อบวม ต้องระวังการฉีกขาดของเอ็นและเยื่อหุ้มข้อ เพราะ Tensile strength อาจลดลงมากถึง 50% - ในการยืดกล้ามเนื้อก่อนหรือหลังการออกกาลังกายของคนปกติ เราควรทาการยืดแบบ Static stretching กล่าวคือเป็นการยืดค้างไว้ นานประมาณ 15-30 วินาทีต่อครั้ง ยืดมัดละประมาณ 5-10 ครั้ง และควรเน้นกลุ่มกล้ามเนื้อที่จะต้องใช้ในการออกกาลังกายเป็นหลัก - ในการยืดกล้ามเนื้อเพื่อรักษา Myofascial pain syndrome อาจจะใช้ Spray พ่นเพื่อให้ความเย็นลดอาการปวดขณะยืด เพราะจะต้องยืดจนสุดพิสัยของข้อซึ่งอาจทาให้เกิดอาการปวดมากได้ และควร ยืดแบบ Static stretching หรือยืดสลับกับ active contra

เวย์โปรตีน

เวย์โปรตีน         เป็นผลพลอยได้จากขบวนการผลิตเนยแข็ง โดยการนานมวัวมาทาให้เป็นตะกอนโปรตีนโดยใช้ความร้อนร่วมกับการเติมเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อให้เปลี่ยนน้าตาลแลคโตสเป็นกรดแลคติก โปรตีนที่ ตกตะกอนจะเป็นเคซีน โปรตีนส่วนนี้เองที่จะนาไปทาเนยแข็งต่อไป ส่วนเวย์โปรตีนจะไม่ตะกอนแต่จะอยู่ในส่วนของน้า ซึ่งจะต้องถูกแยกออกมาจากกระบวนการทาเนยแข็ง เวย์โปรตีนเป็นโปรตีนที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมีกรดอะมิโนจาเป็นสูง เป็นแหล่งของ Sulfur amino acids คือ Methionine, Cysteine และเป็นแหล่งของ Branched-chain amino acids (ลิวซีน ไอโซลิวซีน วาลีน) อีกทั้งยังเป็นแหล่งของกลูตามีน ไกลซีนAlpha-Lactoglobulin, Beta-Lactoglobulin, Bovine Serum Albumin, Immunoglobulin (Ig Gl, IgGll,Secretory lgA, lgM) และยังประกอบไปด้วยเอ็นไซม์, Iron Binding Protein, Calcium, Potassium, Sodium,Phosphorus, Vitamin A,C,B1,B2,B3,B5,B12, Folic Acid และ Biotin  เวย์ โปรตีน จะถูกดูดซึมทางลาไส้เล็กอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ Beta- Lacto globulin เวย์โปรตีนจะถูก ส่งผ่านจากกระเพาะอาหาร สู่ลาไส้เล็กอย่างเร็ว ไม่เหมือนกับพวกโปรตีน อื่นๆที่ต้องถูกย่อยด้ว

ประเภทของเวย์โปรตีน

ประเภทของเวย์โปรตีน  1. Whey Protein Concentrate เป็นโปรตีนผงที่มีปริมาณเวย์โปรตีน 30-89% โดยน้าหนัก ขึ้นกับ กระบวนการกรองและกระบวนการอื่นๆ อีกเพื่อแยกเอาน้าตาลแลคโตส และไขมันที่เจือปนให้ออกไป  2. Whey Protein Isolate เป็นการนาเอาโปรตีนผง Whey Protein Concentrate มาผ่านกระบวนการกรอง  Cross-flow microfiltration หรือ Ion-exchange เพื่อแยกเอาน้าตาลแลคโตส และไขมันที่ยังเจือปนให้ออกไปให้หมด ให้เหลืออยู่แต่เวย์โปรตีนจึงเป็นโปรตีนผงที่มีเวย์โปรตีนอยู่สูงมากคือมากกว่า 90% โดยน้าหนัก  3. Whey Protein Hydrolyzed เป็นการนาเสนอ Whey Protein Concentrate หรือ Whey Protein lsolate  มาผ่านกระบวน Hydrolyzed (ปฏิกิริยาที่มีน้าเข้าไปทาปฏิกิริยา) เพื่อทาให้ขนาดโมเลกุลของเวย์โปรตีนที่มีขนาดใหญ่ ถูกย่อยจนอยู่ในรูปของโมเลกุลเล็กๆ เรียกว่า Peptides และบางส่วนถูกย่อยลงไปจนถึงขั้นกรดอะมิโนอิสระ ซึ่งโปรตีนที่อยู่ในรูป Peptides สั้นๆ ถูกร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ดีกว่าในรูปโมเลกุลใหญ่ๆและดีกว่ากรดอะมิโนอิสระ จึงเชื่อว่า Whey Protein Hydrolyzed เป็นเวย์โปรตีนที่ถูกย่อยและดูดซึมได้เร็วที่สุด  อ้า

การบาดเจ็บทางการกีฬา(Sport injury)

การบาดเจ็บทางการกีฬา(Sport injury) หมายถึง การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นกีฬา การฝึกที่ผิด ซึ่งอาจจะเกิดจากอุบัติเหตุและการขาดการยืดกล้ามเนื้อหรือการอุ่นเครื่อง(warm up) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่ 1.การบาดเจ็บเฉียบพลัน(acute injury) การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือจากแรงที่มีการกระทำ การบาดเจ็บเฉียบพลันที่พบได้บ่อย ได้แก่ กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีก เป็นต้น 2.การบาดเจ็บเรื้อรัง(chronic injury)เป็นการบาดเจ็บที่เกิดจากการใช้งานหนักเกินไป(overuse injury)เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือแรงมากระทำซ้ำๆ(repetitive injury) อ้างอิง : อุมาภรณ์ คงอุไร.การป้องกันและการปฐมพญาบาล การบาดเจ็บทางการกีฬา พิมพ์ครั้งแรก.กรุงเทพ :บใสำนักพิมพ์ ดวงกมล(2520) จำกัด,2543

จิตวิทยาการกีฬา(sport psychology)

จิตวิทยาการกีฬา(sport psychology) คือ การศึกษาพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่เกื่ยวข้องกับการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาหรือการอกกำลังกาย รวมทั้งอิทธิพลของนักกีฬา ผู้ฝึกสอน และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถของนักกีฬา และการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข (สุพัชรินทร์,2556) หลักจิตวิทยากับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ 1.การเป็นผู้สื่อสารที่ดี  1.1 ผู้ส่งและผู้รับข้อความ  1.2 ภาษาพูดและท่าทาง  1.3 เนื้อหาและสภาพอารมณ์ 2.การสร้างแรงจูงใจ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการคิดและผลักดันให้เป็นพฤติกรรม 3.การสร้างความนุกสนาน  3.1 การกระตุ้นที่เหมาะสม  3.2 ระดับความท้าทาย  3.3 การยอมรับในเงื่อนไขเหตุผล  3.4 กิจกรรมที่สร้างสรรค์ น่าสนใจ  3.5 ปลอดภัย 4.การสร้างความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า การเรียนรู้และให้ความสำคัญว่าตนเองมีคุณค่าเสมอ

วิทยาศาสตร์การกีฬา คือ อะไร ???

วิทยาศาสตร์การกีฬา คือ การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาประยุกต์กับการเล่นกีฬาเพื่อให้เกิดความเป็นเลิศในด้านกีฬามากขึ้้น โดยจะอาศัยความรู้พื้นฐานจากวิทยาศาสตร์เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ชีวกลศาสตร์ เวชศาสตร์การกีฬา และ จิตวิทยาการกีฬา ซึ่งหากเราเปรียบเทียบระหว่างวิทยาศาสตร์การกีฬากับพลศึกษานั้นต่างกันมากแต่วิทยาศาสตร์การกีฬายังคงมีวิชาเค้าโครงมาจากพลศึกษาบ้าง ซึ่งพลศึกษาจะเน้นการสอนกีฬาเป็นหลัก แต่วิทยาศาสตร์การกีฬาจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพนักกีฬาทั้งเรื่องสุขภาพจิต ร่างกาย การฝึกซ้อม และ ด้านโภชนาการ เพื่อให้นักกีฬามีความพร้อมต่อการแข่งขันมากขึ้น