ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์ 24, 2016

sport psychology(แรงจูงใจกับการกีฬา)

แรงจูงใจกับการกีฬา       นักจิตวิทยาการกีฬา พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลที่บุคคลตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา เพื่ออธิบายสาเหตุหรือความต้องการซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปตามความคิด ความรู้สึก ความเป็นเหตุเป็นผลของแต่ละบุคคล ขณะเดียวกันเมื่อทราบเหตุผลของการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาแล้ว ยังต้องทำความเข้าใจถึงเหตุผลหรือความต้องการที่ทำให้เกิดการคงอยู่ของพฤติกรรมหรือการเล่นกีฬานั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาระดับความต้องการที่แท้จริงของบุคคลไว้ นอกจากกลุ่มผู้ที่เริ่มเล่นกีฬาและผู้ที่ยังคงเล่นกีฬาแล้ว ยังมีกลุ่มคนอีกจำนวนมากที่มีโอกาสในการเข้าสู่กระบวนการกีฬา แต่ด้วยเหตุผลใดจึงมีการตัดสินใจหยุดหรือเลิกเล่นกีฬาในที่สุดดังนั้นจึงขอสรุปที่มาของแรงจูงใจในผู้ที่เริ่มเล่นกีฬา ผู้ที่ยังคงเล่นกีฬา และผู้ที่เลิกเล่นกีฬา ดังต่อไปนี้        แรงจูงใจของผู้ที่เริ่มเล่นกีฬา ผู้ที่เริ่มเล่นกีฬามักมีสาเหตุที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามความต้องการส่วนบุคคลหรือความต้องการตามระดับของช่วงอายุหรือพัฒนาการตามวัยต่างๆ โดยสรุปสาเหตุของผู้ที่เริ่มเล่นกีฬา มีดังนี้คือ 1. สาเหตุแห่งความสวยงาม ความสวยงามเป็นสิ่งท

sport psychology(ทฤษฎีแรงจูงใจ)

ทฤษฎีแรงจูงใจ         ทฤษฎีรวมถึงโมเดลแรงจูงใจต่างๆ เป็นการอธิบายความต้องการของมนุษย์ว่ามีโครงสร้างอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจ สิ่งสำคัญในการพิจารณาลักษณะแรงจูงใจของนักกีฬา คือ ระดับความมากน้อยของการปฏิบัติ ( Intensity) ทิศทางที่จะไปสู่เป้าหมาย ( Direction)  และความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ( Persistence) พฤติกรรมที่แสดงออกของนักกีฬามีผลกระทบโดยตรงต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของนักกีฬาได้ ทฤษฎีแรงจูงใจเกี่ยวกับการกีฬามีอยู่หลากหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีแรงจูงใจภายในและการประเมินความรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทฤษฎีการอ้างสาเหตุและทฤษฎีการกำหนดเป้าหมาย โดยสรุปมาพอสังเขปดังต่อไปนี้ ทฤษฎีแรงจูงใจภายในและการประเมินความรู้  ( Intrinsic motivationand cognitive evaluation theory)         เป็นการอธิบายลักษณะแรงจูงใจว่าสามารถเกิดขึ้นเองได้ โดยไม่มีรางวัลหรือสาเหตุภายนอกมาเกี่ยวข้อง เป็นการเล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งแรงจูงใจภายในเกิดได้อย่างไร เพิ่มได้อย่างไร ไม่สามารถอธิบายได้ จึงต้องมีทฤษฎีแรงจูงใจแบบประเมินความรู้ขึ้น แรงจูงใจแบบประเมินความรู้ถือเป็นแรงจูงใจประเภทหนึ่งที่เกิด

sport psychology(ความวิตกกังวลทางการกีฬา)

ความวิตกกังวลทางการกีฬา ( Anxiety in Sport) ทฤษฎีความวิตกกังวลทางการกีฬา      ความวิตกกังวลและความสามารถในการแสดงออกของนักกีฬามีส่วนสัมพันธ์กัน โดยอธิบายได้ด้วยทฤษฎีความวิตกกังวลที่มีลักษณะเป็นมิติเดียว( Unidimensional theories) ซึ่งประกอบด้วย 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีแรงขับ ( Drive theory) ความวิตกกังวลทางการกีฬา( Anxiety in Sport) และทฤษฎีอักษร ยู คว่ำ ( Inverted – u – theory) และทฤษฎีความวิตกกังวลตามสถานการณ์แบบหลายมิติ ( Multidimensional anxiety theory) โดยสรุป มาพอสังเขปดังต่อไปนี้คือ 1. ทฤษฎีแรงขับ (Drive theory) ทฤษฎีแรงขับของ ฮัลล์ เป็นการอธิบายระดับความวิตกกังวลว่าเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความสามารถ ถ้านักกีฬามีความวิตกกังวลต่ำจะมีความสามารถต่ำและหากนักกีฬามีความวิตกกังวลสูงจะมีความสามารถสูงทฤษฎีนี้มักใช้อธิบายในนักกีฬาประเภทที่ต้องการความแข็งแรง และมีการใช้พลังงานมากๆเช่น นักกีฬายกน้ำหนัก และนักกีฬาอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ทฤษฎีแรงขับได้รับความนิยมจากนักวิจัยจำนวนมากในช่วงปี ค.ศ.1943 – ค.ศ.1970 แต่หลังจากนั้นได้รับความนิยมน้อยลงเนื่องจากมีความยากในการทดสอบ และผลการทดสอบที

Personality of Sport(ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของนักกีฬา)

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของนักกีฬา        บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้นักกีฬามีบุคลิกภาพแตกต่างกัน คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม 1. อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อบุคลิกภาพของนักกีฬา บุคลิกภาพภายนอกจะได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผิว ความสูงลักษณะทางเพศ กลไกการทำงานของร่างกายบางอย่างแม้กระทั่งโรคภัยไข้เจ็บ เช่น พ่อแม่มีรูปร่างสูงใหญ่ ลูกที่เกิดมาจึงมีโครงสร้างที่สูงใหญ่ตามไปด้วย ดังนั้นหากลูกต้องการเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลจึงมีความได้เปรียบด้านโครงสร้างร่างกายที่เหมาะสมกับชนิดกีฬา นอกจากนั้นผู้ที่เป็นนักกีฬาคงทราบกันดีว่า การที่จะเล่นกีฬาได้อย่างดีนั้น นอกจากจะมีร่างกายที่แข็งแรงและจิตใจที่เข้มแข็งแล้ว ระดับสติปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมยังมีผลต่อการตัดสินใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเกมการแข่งขันได้เช่นเดียวกัน นอกจากบุคลิกภาพภายนอกที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้วบุคลิกภาพภายในบางประการอาจได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย เช่น ความคิดหรือการตอบสนองทางอารมณ์ต่างๆ 2. อิทธิพลข