ทฤษฎีแรงจูงใจ
ทฤษฎีรวมถึงโมเดลแรงจูงใจต่างๆ เป็นการอธิบายความต้องการของมนุษย์ว่ามีโครงสร้างอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจ สิ่งสำคัญในการพิจารณาลักษณะแรงจูงใจของนักกีฬา คือ ระดับความมากน้อยของการปฏิบัติ (Intensity)ทิศทางที่จะไปสู่เป้าหมาย (Direction) และความต่อเนื่องสม่ำเสมอ (Persistence)พฤติกรรมที่แสดงออกของนักกีฬามีผลกระทบโดยตรงต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของนักกีฬาได้ ทฤษฎีแรงจูงใจเกี่ยวกับการกีฬามีอยู่หลากหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีแรงจูงใจภายในและการประเมินความรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทฤษฎีการอ้างสาเหตุและทฤษฎีการกำหนดเป้าหมาย โดยสรุปมาพอสังเขปดังต่อไปนี้
ทฤษฎีแรงจูงใจภายในและการประเมินความรู้
(Intrinsic motivationand cognitive evaluation theory)
เป็นการอธิบายลักษณะแรงจูงใจว่าสามารถเกิดขึ้นเองได้ โดยไม่มีรางวัลหรือสาเหตุภายนอกมาเกี่ยวข้อง เป็นการเล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งแรงจูงใจภายในเกิดได้อย่างไร เพิ่มได้อย่างไร ไม่สามารถอธิบายได้ จึงต้องมีทฤษฎีแรงจูงใจแบบประเมินความรู้ขึ้น แรงจูงใจแบบประเมินความรู้ถือเป็นแรงจูงใจประเภทหนึ่งที่เกิดจากภายในตัวบุคคลที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ การรับรู้การควบคุม นักกีฬาต้องรับรู้ให้ได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุจูงใจให้เล่นกีฬาเพื่อควบคุมสาเหตุนั้นให้คงอยู่ตลอด และกระบวนการประเมินข้อมูลเป็นองค์ประกอบสำคัญในการรับรู้ความสามารถ และการตัดสินใจด้วยตนเอง
โดยสรุป แรงจูงใจภายใน เป็นแรงจูงใจที่เกิดขึ้นโดยไม่มีรางวัลหรือสิ่งล่อใจภายนอกมาเป็น
ตัวกระตุ้นให้เกิดการแสดงพฤติกรรม แต่มักเกิดจากแรงขับภายในที่ต้องการตอบสนองต่อ
ความต้องการพื้นฐาน ส่วนการประเมินความรู้เป็นแรงจูงใจที่เกิดจากการรับรู้ตนเองว่ามี
ความสามารถ และสามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้
อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556
จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น