ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

sport psychology(แรงจูงใจกับการกีฬา)


แรงจูงใจกับการกีฬา

      นักจิตวิทยาการกีฬา พยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลที่บุคคลตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา เพื่ออธิบายสาเหตุหรือความต้องการซึ่งมีความแตกต่างกันออกไปตามความคิด ความรู้สึก ความเป็นเหตุเป็นผลของแต่ละบุคคล ขณะเดียวกันเมื่อทราบเหตุผลของการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาแล้ว ยังต้องทำความเข้าใจถึงเหตุผลหรือความต้องการที่ทำให้เกิดการคงอยู่ของพฤติกรรมหรือการเล่นกีฬานั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาระดับความต้องการที่แท้จริงของบุคคลไว้ นอกจากกลุ่มผู้ที่เริ่มเล่นกีฬาและผู้ที่ยังคงเล่นกีฬาแล้ว ยังมีกลุ่มคนอีกจำนวนมากที่มีโอกาสในการเข้าสู่กระบวนการกีฬา แต่ด้วยเหตุผลใดจึงมีการตัดสินใจหยุดหรือเลิกเล่นกีฬาในที่สุดดังนั้นจึงขอสรุปที่มาของแรงจูงใจในผู้ที่เริ่มเล่นกีฬา ผู้ที่ยังคงเล่นกีฬา และผู้ที่เลิกเล่นกีฬา ดังต่อไปนี้
       แรงจูงใจของผู้ที่เริ่มเล่นกีฬา ผู้ที่เริ่มเล่นกีฬามักมีสาเหตุที่หลากหลายแตกต่างกันไปตามความต้องการส่วนบุคคลหรือความต้องการตามระดับของช่วงอายุหรือพัฒนาการตามวัยต่างๆ โดยสรุปสาเหตุของผู้ที่เริ่มเล่นกีฬา มีดังนี้คือ
1. สาเหตุแห่งความสวยงาม
ความสวยงามเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาเป็นสิ่งที่ทราบกันดีว่าการออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬามีผลให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์รูปร่างสมส่วน กำจัดไขมันส่วนเกิน หน้าตาอ่อนกว่าวัย เพราะเมื่อออกกำลังกายร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชะลอความชราออกมา จึงเป็นสิ่งดึงดูดใจที่ทำให้ผู้ที่รักสวยรักงามหันมาออกกำลังกาย ไม่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายส่วนหนึ่งต่างให้เหตุผลของการออกกำลังกายว่าต้องการให้รูปร่างดูดี แข็งแรง สมส่วน มีความเป็นชาย ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้าม เป็นต้น
2. สาเหตุทางการแพทย์
กลุ่มคนจำนวนหนึ่งในสังคมเริ่มออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเนื่องมาจากสาเหตุด้านสุขภาพ เพื่อต้องการรักษาโรคที่ตนเองเจ็บป่วยโรคบางชนิดไม่สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาได้เพียงอย่างเดียว แต่การรักษาจะเห็นผลดีเมื่อควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง หรือบางครั้งไม่ได้เจ็บป่วยแต่ต้องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต นักกีฬาหลายคนอาจเริ่มการออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการของโรค เช่น โรคหอบ สามารถรักษาให้หายขาดได้ในช่วงวัยเด็ก หากออกกำลังกายด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่น การว่ายน้ำและยังคงว่ายน้ำอยู่จนสามารถเป็นนักกีฬาเพื่อการแข่งขันได้ หรือผู้มีอาการบาดเจ็บเรื้อรังที่ต้องพื้นฟูภายหลังการบาดเจ็บด้วยกิจกรรมการออกกำลังกายเบาๆ หรือเลือกวิธีการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน
3. สาเหตุทางสังคม
 กีฬาซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีการรวมตัวของกลุ่มคนเข้าไว้ด้วยกันก่อให้เกิดเป็นสังคมเล็กๆ จนกลายเป็นสังคมขนาดใหญ่ มีการเล่นกีฬาทั้งระดับหมู่บ้าน โรงเรียน จังหวัด ประเทศ และขยายตัวเป็นสังคมกีฬาระดับนานาชาติ ซึ่งก่อให้เกิดความสนุกสนาน ความสามัคคี และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน รวมถึงการเห็นตัวแบบและได้รับแรงเสริมต่างๆ เช่น การมองดูนักกีฬาที่มีบุคลิกภาพดีและเกิดความชื่นชอบ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการชอบที่ตัวบุคคลจนก่อให้เกิดการเลียนแบบเพื่อกระทำในสิ่งเดียวกัน โอกาสในการเข้าร่วมเล่นกีฬาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เริ่มเข้าสู่การกีฬาได้ หรือต้องการมีเพื่อนใหม่ โดยใช้กิจกรรมออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นสื่อในการเข้าร่วมกับสังคม มีความต้องการให้สังคมยอมรับ หรือมีแรงจูงใจเพื่อให้มีชื่อเสียงได้รับการยกย่องมีรายได้ เป็นต้น
4. สาเหตุทางเจตคติ
เมื่อกล่าวถึงเจตคติซึ่งเป็นเรื่องของแนวความคิดเห็นและท่าทีของบุคคลที่แสดงออกนั้น พบว่าผู้
เล่นกีฬามักมีเจตคติที่ดีต่อการกีฬามองเห็นคุณค่าและประโยชน์มากมายที่ได้จากกีฬา


อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556


            จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Motivation in Sport( แรงจูงใจทางการกีฬา)

แรงจูงใจทางการกีฬา (Motivation in Sport)               แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ผู้ที่มีแรงจูงใจจะใช้ความพยายามในการกระ ทำเพื่อไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละแต่ผู้ที่ ไม่มีแรงจูงใจจะไม่แสดงความพยายามหรือเลิกกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย             กระบวนการจูง ความต้องการของบุคคลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทาง ( Direction) และระดับความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ( Intensity) ประเภทของแรงจูงใจ     1. แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากความต้องการภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจการเห็นคุณค่าในตนเอง ความพอใจ ความต้องการ เป็นต้น     2. แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากภายนอกตัวบุคคล อาจเป็นการได้รับรางวัลเกียรติยศ ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับการยกย่องชมเชย               ผู้ฝึกสอน ควรเน้นให้นักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีอิสระในการตัดสินใจหร...

The muscle function(การทำงานของกล้ามเนื้อ)

การทำงานของกล้ามเนื้อ ร่างกายของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อหลายร้อยมัด การเคลื่อนไหวของร่างกายจะเป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อหลายมัดประสานสัมพันธ์กัน การเคลื่อนไหวโดยทั่วไปจะมีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ต่างๆ คือ 1 Agonist muscle / Prime moves คือกล้ามเนื้อหลักที่มีการหดตัวเพื่อให้เกิดการ เคลื่อนไหวข้อต่อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวในท่าทางต่างๆ และมีการเคลื่อนที่ 2 Synergist muscle คือกล้ามเนื้อที่หดตัวเพื่อช่วยกล้ามเนื้อหลักหรือกล้ามเนื้อ เสริม กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ไม่ใช้กล้ามเนื้อกลุ่มแรกในการหดตัวตอบสนองในท่าทางนั้นๆ 3 Antagonist muscle คือกลุ่มกล้ามเนื้อมัดตรงข้ามกับกลุ่มกล้ามเนื้อหลัก จะ คลายตัวเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ท าหน้าที่เคลื่อนไหวข้อต่อในทิศทางตรงข้ามกลุ่มกล้ามเนื้อหลักเพื่อสร้างความสมดุลของแรง 4 Stabilizer muscle คือกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยรักษาสมดุลของการเคลื่อนไหวนั้นให้ แม่นยำถูกต้อง โดยการหดตัวเพื่อยึดหรือประคองอวัยวะส่วนนั้นไม่ให้มีการเคลื่อนที่ อ้างอิง : วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อสุขภาพทางกาย : มณินทร รักษ์บำรุง