ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

sport psychology(ความวิตกกังวลทางการกีฬา)


ความวิตกกังวลทางการกีฬา
(Anxiety in Sport)

ทฤษฎีความวิตกกังวลทางการกีฬา

     ความวิตกกังวลและความสามารถในการแสดงออกของนักกีฬามีส่วนสัมพันธ์กัน โดยอธิบายได้ด้วยทฤษฎีความวิตกกังวลที่มีลักษณะเป็นมิติเดียว(Unidimensional theories) ซึ่งประกอบด้วย 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีแรงขับ (Drive theory)ความวิตกกังวลทางการกีฬา(Anxiety in Sport) และทฤษฎีอักษร ยู คว่ำ (Inverted – u – theory) และทฤษฎีความวิตกกังวลตามสถานการณ์แบบหลายมิติ (Multidimensional anxiety theory) โดยสรุป มาพอสังเขปดังต่อไปนี้คือ
1.ทฤษฎีแรงขับ(Drive theory)
ทฤษฎีแรงขับของ ฮัลล์ เป็นการอธิบายระดับความวิตกกังวลว่าเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความสามารถ ถ้านักกีฬามีความวิตกกังวลต่ำจะมีความสามารถต่ำและหากนักกีฬามีความวิตกกังวลสูงจะมีความสามารถสูงทฤษฎีนี้มักใช้อธิบายในนักกีฬาประเภทที่ต้องการความแข็งแรง และมีการใช้พลังงานมากๆเช่น นักกีฬายกน้ำหนัก และนักกีฬาอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ทฤษฎีแรงขับได้รับความนิยมจากนักวิจัยจำนวนมากในช่วงปี ค.ศ.1943 – ค.ศ.1970 แต่หลังจากนั้นได้รับความนิยมน้อยลงเนื่องจากมีความยากในการทดสอบ และผลการทดสอบที่ได้มักขัดแย้งระหว่างรากฐานของทฤษฎีกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
2.ทฤษฎีอักษรยูคว่ำ(Invertedutheory)
     ทฤษฎีอักษร ยู คว่ำ เป็นการอธิบายระดับความวิตกกังวลว่าหากมีระดับความวิตกกังวลต่ำมากหรือสูงมากจะทำให้มีความสามารถต่ำ แต่หากมีระดับความวิตกกังวลที่เหมาะสมจะทำให้มีความสามารถสูง (ภาพที่ 13) ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับในการนำไปใช้อธิบายความวิตกกังวลในการแข่งขันกีฬา หากนักกีฬาสามารถควบคุมระดับความวิตกกังวลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมจะส่งผลให้นักกีฬาแสดงความสามารถทางการกีฬาได้สูงสุด หากนักกีฬาไม่สามารถควบคุมระดับความวิตกกังวลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้จะเป็นผลให้ประสิทธิภาพของการแสดงความสามารถทางการกีฬาลดลง ดังนั้นก่อนการแข่งขันหรือระหว่างการแข่งขันนักกีฬาต้องสามารถควบคุมระดับความวิตกกังวลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับตนเองเพื่อมุ่งหวังให้มีการแสดงความสามารถทางการกีฬาสูงสุด
       ทฤษฎีแรงขับและทฤษฎีอักษร ยู คว่ำ เป็นการอธิบายระดับความวิตกกังวลกับความสามารถทางการกีฬาในลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างกันนอกจากการอธิบายความวิตกกังวลที่มีลักษณะเป็นมิติเดียวแล้วยังสามารถอธิบายความวิตกกังวลตามสถานการณ์แบบหลายมิติได้ ดังต่อไปนี้ตามทฤษฎีความวิตกกังวลตามสถานการณ์แบบหลายมิติของมาร์เทนส์และคณะ แบ่งมิติของความวิตกกังวลออกเป็นความวิตกกังวลทางจิตใจ เช่น ความพะวงว่าจะแพ้ไม่สามารถทำได้อย่างที่หวังไว้ ความวิตกกังวลทางร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อตึงเครียด เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ และมิติความเชื่อมั่นในตนเอง เช่น เชื่อมั่นในตัวเองว่าสามารถทำได้ จากทฤษฎีดังกล่าวพบว่าความวิตกกังวลและความเชื่อมั่นในตนเองมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกัน หมายความว่าหากระดับความวิตกกังวลสูงจะส่งผลให้ระดับความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ เช่นเดียวกันเมื่อระดับความวิตกกังวลต่ำจะส่งผลให้ระดับความเชื่อมั่นในตนเองสูง นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าเมื่อนักกีฬามีระดับความวิตกกังวลทางจิตใจสูงความสามารถทางการกีฬาจะลดลง แต่เมื่อนักกีฬามีระดับความวิตกกังวลทางร่างกายเหมาะสมจะส่งผลให้ความสามารถทางการกีฬาสูงขึ้นและหากนักกีฬามีระดับความเชื่อมั่นในตนเองสูงความสามารถทางการกีฬาจะสูงด้วยอีกทั้งยังพบว่าระดับความวิตกกังวลทางจิตใจมีความสัมพันธ์กับความสามารถทางการกีฬาในลักษณะเส้นตรงเชิงลบ ส่วนความวิตกกังวลทางร่างกายมีความสัมพันธ์กับความสามารถทางการกีฬาในลักษณะระฆังคว่ำ ส่วนความเชื่อมั่นในตนเองมีความสัมพันธ์กับความสามารถทางการกีฬาในลักษณะเส้นตรงเชิงบวกนอกจากทฤษฎีความวิตกกังวลทางการกีฬาที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีแนวคิด

         ซึ่งเกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลทางการกีฬาในแง่มุมที่แตกต่างออกไป คือ มุม มองของความวิตกกังวลที่ไม่ใช่การประเมินเพียงระดับความมากน้อยของความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ให้ความสนใจกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลดีหรือไม่ดีต่อความสามารถทางการกีฬา ซึ่งการอธิบายข้อค้นพบนี้กล่าวถึงความวิตกกังวลในลักษณะความเข้มและทิศทาง โดยพบว่าระดับความวิตกกังวลที่แสดงในลักษณะของความเข้มเพียงอย่างเดียวไม่ครอบคลุมการอธิบายความวิตกกังวลของนักกีฬาทั้งหมดจึงได้เสนอการตอบสนองต่อความวิตกกังวลลักษณะทิศทาง (Direction anxiety)ซึ่งประกอบด้วย ความวิตกกังวลที่ส่งผลดีต่อความสามารถทางการกีฬา (Facilitative)และความวิตกกังวลที่ส่งผลไม่ดีต่อความสามารถทางการกีฬา (Debilitative) ร่วมด้วยความวิตกกังวลลักษณะทิศทาง เน้นการรับรู้สภาพอารมณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผลต่อความสามารถทางการกีฬาอย่างไร โดยกำหนดรูปแบบความวิตกกังวลที่ส่งผลดีและส่งผลไม่ดีต่อความสามารถทางการกีฬา ที่อยู่บนหลักของการตอบสนองต่อความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในแต่ละคนว่าย่อมมีความแตกต่างกันออกไปตามความรู้สึกนึกคิด บางคนคิดว่าความวิตกกังวลนั้นเป็นสิ่งที่ดีกับตัวเองในขณะที่บางคนไม่ได้คิดเช่นนั้น


อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556
            จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)

การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking)   การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน ( New Original) ใช้การได้ ( Workable) และมีความเหมาะสม ( Appropriate) การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า "นวัตกรรม" ( Innovation) ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking 2. เป็นการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร หรือ Constructive thinking 3. เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ ม

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ทรม