ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Personality of Sport(ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของนักกีฬา)


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพของนักกีฬา

       บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้นักกีฬามีบุคลิกภาพแตกต่างกัน คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

1. อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีต่อบุคลิกภาพของนักกีฬา
บุคลิกภาพภายนอกจะได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมเป็นส่วนใหญ่ เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผิว ความสูงลักษณะทางเพศ กลไกการทำงานของร่างกายบางอย่างแม้กระทั่งโรคภัยไข้เจ็บ เช่น พ่อแม่มีรูปร่างสูงใหญ่ ลูกที่เกิดมาจึงมีโครงสร้างที่สูงใหญ่ตามไปด้วย ดังนั้นหากลูกต้องการเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลจึงมีความได้เปรียบด้านโครงสร้างร่างกายที่เหมาะสมกับชนิดกีฬา นอกจากนั้นผู้ที่เป็นนักกีฬาคงทราบกันดีว่า การที่จะเล่นกีฬาได้อย่างดีนั้น นอกจากจะมีร่างกายที่แข็งแรงและจิตใจที่เข้มแข็งแล้ว ระดับสติปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมยังมีผลต่อการตัดสินใจต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเกมการแข่งขันได้เช่นเดียวกัน นอกจากบุคลิกภาพภายนอกที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้วบุคลิกภาพภายในบางประการอาจได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย เช่น ความคิดหรือการตอบสนองทางอารมณ์ต่างๆ
2. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อบุคลิกภาพของนักกีฬา นักจิตวิทยา
การกีฬาส่วนใหญ่เชื่อว่าสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดบุคลิกภาพของนักกีฬามากกว่าพันธุกรรม โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนร่วมทีม รวมไปถึงสังคมทุกระดับที่นักกีฬาได้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยสิ่งแวดล้อมทางสังคมเหล่านี้จะให้ประสบการณ์ต่างๆ แก่นักกีฬาจนสั่งสมเป็นบุคลิกภาพ
 สำหรับประสบการณ์ดังกล่าวที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ สามารถจำแนกได้ 2 ประการ คือ
     ประสบการณ์ร่วม หมายถึง ประสบการณ์ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันจะได้รับในรูปแบบคล้ายคลึงกัน เช่น วัฒนธรรม ความเชื่อ เจตคติ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี โดยประสบการณ์เหล่านี้จะถูกถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปรุ่นหนึ่ง ประสบการณ์ร่วมดังกล่าวจะมีผลต่อการสร้างบุคลิกภาพของบุคคลในด้านต่างๆ เช่น ความคิด ความเชื่อการแต่งกาย กิริยามารยาท และการพูดจา
ประสบการณ์เฉพาะ เกิดขึ้นจากการอบรมเลี้ยงดูสั่งสอนจากพ่อแม่ ครู อาจารย์ หรือผู้ฝึกสอนที่แตกต่างกันไป 

        นอกจากปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดรูปแบบบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลด้วย เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว บรรยากาศและสัมพันธภาพภายในครอบครัวหรือภายในทีมกีฬา รวมถึงสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล จะเห็นได้ว่าโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคล ประกอบด้วยอิทธิพลจากการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ร่วมและประสบการณ์เฉพาะโดยกระบวนการในการรับประสบการณ์ทั้ง 2 ประเภทนี้สามารถเกิดได้ทั้งทางตรงได้แก่ การอบรมสั่งสอน และทางอ้อมที่เกิดจากการทำตามตัวแบบจนเกิดการสั่งสมทีละเล็กทีละน้อยจนกลายเป็นบุคลิกภาพที่ถาวรของบุคคลในที่สุด


อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556


            จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)

การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking)   การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน ( New Original) ใช้การได้ ( Workable) และมีความเหมาะสม ( Appropriate) การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า "นวัตกรรม" ( Innovation) ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking 2. เป็นการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร หรือ Constructive thinking 3. เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ ม

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ทรม