ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความเข้มแข็งทางจิตใจ(Mental Toughness)

ความเข้มแข็งทางจิตใจ(Mental Toughness)

ความเข้มแข็งทางจิตใจ คือ ความสามารถของนักกีฬาที่จะต่อสู้กับสภาวะกดดันทั้งระหว่างการแข่งขันหรือระหว่างฝึกซ้อมได้โดยไม่ย่อท้อแต่ในทางตรงข้ามนักกีฬากลับมีความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายแลชัยชนะอย่างเข้มแข็ง มีความรู้สึกที่จะต่อสู้กับแรงปะทะจากภายนอกและภายในจิตใจของตนเอง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความเข้มแข็งทางจิตใจสามารถสร้างให้เกิดขึ้นกับนักกีฬาทุกคนได้ หากมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาในระดับสูงขึ้น เพราะความเข้มแข็งทางจิตใจสามารถพัฒนาได้เช่นเดียวกับการฝึกซ้อมทางร่างกาย
     สุพัชรินทร์ และอภิลักษณ์ (2555) พบว่านักกอล์ฟอาชีพไทยที่ได้รับการฝึกด้านจิตใจมีระดับความเข้มแข็งทางจิตใจสูงขึ้น และส่งผลให้ความสามารถในการพัตต์กอล์ฟดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกด้านจิตใจ นอกจากนั้น สนั่น (2536)ยังพบว่าผู้ฝึกสอนกีฬาทีมชาติไทยและผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัย มีการใช้ทักษะทางจิตใจเพื่อทำให้นักกีฬามีจิตใจเข้มแข็ง และมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งประกอบด้วย การตั้งเป้าหมาย การเสริมพฤติกรรมฮึกเหิม การสร้างแรงจูงใจ และการเป็นผู้นำ

       ความเข้มแข็งทางจิตใจ มีผลต่อการแพ้ชนะในการแข่งขัน และเป็นปัจจัย
สำคัญที่จะส่งให้นักกีฬาก้าวไปสู่ความเป็นแชมป์ได้ เนื่องจากถ้านักกีฬาฝ่าย
ใดสามารถควบคุมสภาพจิตใจ เช่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีสมาธิ มีแรงจูงใจมีจินตภาพได้ดีกว่าฝ่ายตรงข้าม ย่อมมีโอกาสที่จะได้รับชัยชนะมากกว่า กระบวนการฝึกเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจสำหรับนักกีฬาจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกอีกทั้งยังต้องให้ความสนใจกับการสร้างบรรยากาศแห่งการจูงใจ (Motivation climate)เช่น ความสนุก ความสามารถที่นักกีฬาทำได้ ความแตกต่างของบุคคลในด้านต่างๆเช่น ระดับความสามารถ อายุ ประสบการณ์ที่ได้รับทั้งจากภายในและภายนอกสนามแข่งขัน รวมถึงบุคคลที่จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับนักกีฬาเช่น พ่อแม่ พี่น้องเพื่อน ผู้ฝึกสอน และนักจิตวิทยาการกีฬา
อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556

             จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Motivation in Sport( แรงจูงใจทางการกีฬา)

แรงจูงใจทางการกีฬา (Motivation in Sport)               แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ผู้ที่มีแรงจูงใจจะใช้ความพยายามในการกระ ทำเพื่อไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละแต่ผู้ที่ ไม่มีแรงจูงใจจะไม่แสดงความพยายามหรือเลิกกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย             กระบวนการจูง ความต้องการของบุคคลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทาง ( Direction) และระดับความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ( Intensity) ประเภทของแรงจูงใจ     1. แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากความต้องการภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจการเห็นคุณค่าในตนเอง ความพอใจ ความต้องการ เป็นต้น     2. แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากภายนอกตัวบุคคล อาจเป็นการได้รับรางวัลเกียรติยศ ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับการยกย่องชมเชย               ผู้ฝึกสอน ควรเน้นให้นักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีอิสระในการตัดสินใจหร...

The muscle function(การทำงานของกล้ามเนื้อ)

การทำงานของกล้ามเนื้อ ร่างกายของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อหลายร้อยมัด การเคลื่อนไหวของร่างกายจะเป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อหลายมัดประสานสัมพันธ์กัน การเคลื่อนไหวโดยทั่วไปจะมีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ต่างๆ คือ 1 Agonist muscle / Prime moves คือกล้ามเนื้อหลักที่มีการหดตัวเพื่อให้เกิดการ เคลื่อนไหวข้อต่อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวในท่าทางต่างๆ และมีการเคลื่อนที่ 2 Synergist muscle คือกล้ามเนื้อที่หดตัวเพื่อช่วยกล้ามเนื้อหลักหรือกล้ามเนื้อ เสริม กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ไม่ใช้กล้ามเนื้อกลุ่มแรกในการหดตัวตอบสนองในท่าทางนั้นๆ 3 Antagonist muscle คือกลุ่มกล้ามเนื้อมัดตรงข้ามกับกลุ่มกล้ามเนื้อหลัก จะ คลายตัวเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ท าหน้าที่เคลื่อนไหวข้อต่อในทิศทางตรงข้ามกลุ่มกล้ามเนื้อหลักเพื่อสร้างความสมดุลของแรง 4 Stabilizer muscle คือกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยรักษาสมดุลของการเคลื่อนไหวนั้นให้ แม่นยำถูกต้อง โดยการหดตัวเพื่อยึดหรือประคองอวัยวะส่วนนั้นไม่ให้มีการเคลื่อนที่ อ้างอิง : วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อสุขภาพทางกาย : มณินทร รักษ์บำรุง