ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Mental Toughness(การพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจ)

การพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจ
ความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาสามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ ด้วยวิธีการฝึกจิตใจ 7 ประการ คือ การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมพลังงานเชิงลบ การควบคุมสมาธิ การจินตภาพ การสร้างแรงจูงใจ การสร้างพลังงานเชิงบวก และ
การควบคุมเจตคติให้เป็นเชิงบวก ดังต่อไปนี้
1. การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นอารมณ์และความรู้สึกทางบวกที่มีความสำคัญต่อการแสดงความสามารถทางการกีฬานักกีฬาสามารถพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองได้ เช่น การพูดกับตนเองทางบวกอยู่เสมอมีความเชื่อในความสามารถของตนเองและเพื่อนร่วมทีมว่าสามารถประสบความสำเร็จได้
2. การควบคุมพลังงานเชิงลบ
พลังงานเชิงลบเป็นความรู้สึกกังวลที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะผิดหวัง ล้มเหลว การรู้สึกว่าตนเองมีความไม่ปกติด้านความคิด มีความกลัว มีความคาดหวังความสำเร็จต่ำ มีความไม่แน่ใจในความสามารถของตนเอง และมีความรู้สึกผิดปกติทางร่างกาย ดังนั้นการควบคุมพลังงานเชิงลบจึงเป็นความสามารถในการควบคุมอารมณ์ไม่ดี เช่น กลัว ท้อแท้ โกรธ ไม่พอใจที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่มีความกดดัน
3. การควบคุมสมาธิหรือความตั้งใจ
เป็นการจดจ่อกับการสิ่งที่กำลังทำการควบคุมจิตใจให้มีความมั่นคง และรู้จักหลีกเลี่ยงไม่สนใจสิ่งอื่นๆ ที่เข้ามารบกวนสมาธิ โดยต้องเลือกความสนใจที่ถูกต้อง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
3.1 การควบคุมสมาธิ คือ ความสามารถในการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์ตรงหน้า สามารถบอกตัวเองได้ว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ที่ควรทำและไม่ควรทำ การควบคุมสมาธิจึงมีความสำคัญที่จะช่วยให้นักกีฬาสามารถ
คิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3.2 การหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใส่ใจกับสิ่งที่เข้ามารบกวน นอกจากนักกีฬาจะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสถานการณ์นั้นแล้ว ขณะเดียวกันนักกีฬาต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่มารบกวนทั้งจากภายนอกและภายในจิตใจตนเองด้วย
ซึ่งหากตัดสิ่งเหล่านี้ออกไปได้แล้วจะเหลือแต่สมาธิและความตั้งใจต่อสถานการณ์เท่านั้น
4. การจินตภาพ
เป็นการนึกภาพด้วยการสร้างภาพเคลื่อนไหวในใจที่ทำให้มองเห็นสถานการณ์ต่างๆ เป็นการสร้างประสบการณ์การรับรู้ขึ้นมาใหม่ซึ่งสามารถสร้างความหนักแน่นทางจิตใจเพื่อต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาทักษะกีฬาให้ประสบความสำเร็จได้อีกทางหนึ่ง
5. การสร้างแรงจูงใจ
แรงจูงใจมีบทบาทสำคัญต่อการเตรียมทีมและการฝึกซ้อม การสร้างแรงจูงใจเป็นการสร้างความพอใจให้เกิดขึ้นกับนักกีฬา เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้นักกีฬาประสบความสำเร็จ การที่นักกีฬาเลือกเล่นกีฬาชนิดหนึ่งแล้วขยันฝึกซ้อมอย่างหนักจนกระทั่งมีความสามารถสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่านักกีฬามีแรงจูงใจในการเล่นกีฬานั้น โดยแรงจูงใจอาจเกิดจากภายในตัวนักกีฬาเองหรือได้รับจากภายนอกร่วมด้วยก็ได้
6. การสร้างพลังงานเชิงบวก
พลังงานเชิงบวก คือ ความสามารถในการคิดให้สนุกสนาน มีความสุขไม่ว่าจะเจอสถานการณ์กดดันเพียงใดก็ตาม สามารถคิดให้เป็นเรื่องสนุกได้ ซึ่งการมีพลังงานเชิงบวกจะช่วยให้นักกีฬาเป็นคนที่มีสปิริต มีน้ำใจเป็นนักกีฬา อยู่ร่วมกับทีมได้ดี เป็นที่รักของผู้อื่น เพราะจะเป็นคนไม่กลัวความพ่ายแพ้ไม่กลัวปัญหา ดังนั้นนักกีฬาต้องปรับเจตคติของตนเองให้มองโลกในแง่ดี นำผลการแข่งขันและสิ่งแวดล้อมรอบตัวมาเป็นเครื่องปรับแต่งเพื่อพัฒนาตนเองและสร้างความพึงพอใจในความสำเร็จแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม และไม่ท้อแท้ต่อความผิดหวังแต่นำมาเป็นแรงกระตุ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องให้สมหวังในอนาคตต่อไป
7. การควบคุมเจตคติให้เป็นเชิงบวก
คือ การควบคุมลักษณะนิสัยและความคิดของตนเองอย่างจริงจังและสม่ำเสมอจนกลายเป็นคนที่มีเจตคติที่ดี มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ เจตคติที่ดีจะช่วยให้นักกีฬาสามารถตัดความกลัวและความวิตกกังวลในการแข่งขันหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความเครียดได้
การประยุกต์ใช้
1. การพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจ ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองการควบคุมพลังงานเชิงลบ การควบคุมสมาธิ การจินตภาพ การสร้างแรงจูงใจการสร้างพลังงานเชิงบวก และการควบคุมเจตคติให้เป็นเชิงบวกอยู่เสมอ

2. การคำนึงถึงความแตกต่างของนักกีฬาตาม เพศ ชนิดกีฬา ประสบการณ์ 
และอื่นๆ ซึ่งอาจมีผลต่อการพัฒนาความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาแต่ละ
คน
อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556

            จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)

การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking)   การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน ( New Original) ใช้การได้ ( Workable) และมีความเหมาะสม ( Appropriate) การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า "นวัตกรรม" ( Innovation) ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking 2. เป็นการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร หรือ Constructive thinking 3. เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ ม

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ทรม