ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บุคลิกภาพทางการกีฬา (Personality of Sport) (การประเมินบุคลิกภาพ)

การประเมินบุคลิกภาพ

       การประเมินบุคลิกภาพ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อต้องการให้บุคคลได้รับรู้ตนเองว่ามีบุคลิกภาพอย่างไร อีกทั้งยังเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาและปรับปรุงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าบุคลิกภาพของบุคคลเกิดจากผลรวมของลักษณะทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะบุคลิกภาพส่วนใหญ่มักมาจากลักษณะภายในจิตใจของตนเอง ซึ่งมีทั้งซ่อนเร้นอยู่และบางส่วนตนเองสามารถรับรู้ได้ ดังนั้นนักจิตวิทยาจึงมีความพยายามที่จะค้นหาวิธีการต่างๆ ในการดึงส่วนที่เป็นบุคลิกภาพภายใน เช่น นิสัยใจคอ ความคิด ความเชื่อ เจตคติ อารมณ์ ออกมาเพื่ออธิบายลักษณะภายนอกต่างๆ สำหรับวิธีการประเมินบุคลิกภาพสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
1.การสังเกต
เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากสำหรับนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมการสังเกตเป็นวิธีการทางธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ในการศึกษาจิตวิทยานั้นต้องมีหลักเกณฑ์รูปแบบ และวิธีการแปลความหมายที่แน่นอน ที่สำคัญต้องไม่นำความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวข้องโดยเด็ดขาด พฤติกรรมที่สังเกตนั้นอาจเป็นพฤติกรรมทั่วไปหรือพฤติกรรมเฉพาะ ข้อดีของวิธีการสังเกต คือ การเห็นพฤติกรรมแบบตรงไปตรงมาทำให้ทราบบุคลิกภาพที่แท้จริงของบุคคลนั้น อย่างไรก็ตาม ข้อควรคำนึง คือ การใช้วิธีการสังเกตเพื่อประเมินบุคลิกภาพนั้นต้องไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวว่าตนเองกำลังถูกสังเกต และควรใช้เวลาในสังเกตนานพอสมควร เพื่อดูความถี่ของพฤติกรรมที่แสดงออกจนมั่นใจว่าเป็นบุคลิกภาพที่แท้จริงของบุคคลนั้น นอกจากนี้เพื่อให้เกิดความเที่ยงตรงผู้สังเกตจำเป็นต้องจดบันทึกรายละเอียดของพฤติกรรมบางช่วงบางตอนให้ชัดเจนเพื่อป้องกันความพลั้งเผลอหรืออาจใช้วิธีการประมาณค่า โดยผู้สังเกตจะให้คะแนนบุคลิกภาพแต่ละประเภทที่สังเกตเห็นได้ จากระดับสูงสุดไปจนถึงระดับต่ำสุด เช่น
พฤติกรรมที่แสดงความก้าวร้าว
ระดับ  สูงมาก  สูง  ปานกลาง  น้อย  น้อยมาก
พฤติกรรมที่แสดงความเป็นผู้นำ
ระดับ  สูงมาก  สูง  ปานกลาง  น้อย  น้อยมาก
2.การสัมภาษณ์
เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยทั่วไปมักมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้ากลุ่มเป็นวิธีการที่ใช้ในการโต้ตอบระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นหลัก อาจเป็นลักษณะคำถามปลายเปิดหรือปลายปิดหรือคำถามที่มีความเฉพาะเจาะจง นอกจากจะเป็นการพูดคุยซักถามแล้วผู้สัมภาษณ์ยังมีโอกาสสังเกตบุคลิกภาพควบคู่ไปด้วย การสัมภาษณ์แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
2.1 การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์ที่ใช้การตั้งคำถามกว้างๆ เป็นเรื่องทั่วไป ไม่มีความเฉพาะเจาะจง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์มีอิสระในการตอบอย่างเต็มที่ โดยทั่วไปวิธีการนี้จะให้ความสำคัญกับการแสดงออกในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารและบุคลิกภาพท่าทางของผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นหลัก

2.2การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์มีการเตรียมคำถามที่มีความเฉพาะเจาะจงโดยเฉพาะไว้ล่วงหน้าตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ เจตคติ ค่านิยมความคิดเห็นที่มีต่อคำถามนั้น ถ้าผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบไม่ตรงคำถาม ตอบไม่ชัดเจนหรือตอบกว้างเกินไป สามารถให้ตอบใหม่หรือตั้งคำถามใหม่ได้ วิธีการสัมภาษณ์สามารถนำคำตอบที่ได้จากผู้เข้ารับการสัมภาษณ์หลายคนมาเปรียบเทียบกัน เพื่อหาบุคคลที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของผู้สัมภาษณ์มากที่สุด
แบบประเมินบุคลิกภาพ
ถูกสร้างขึ้นเพื่อตรวจสอบหาบุคลิกภาพที่แท้จริงโดยเฉพาะส่วนที่เป็นบุคลิกภาพภายใน เนื่องจากการวิเคราะห์บุคลิกภาพภายในหลายด้านจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่เที่ยงตรง ชัดเจน และเชื่อถือได้ ซึ่งวิธีการสังเกตหรือการสัมภาษณ์อาจไม่สามารถทำได้ทั้งหมด แบบทดสอบบุคลิกภาพที่สร้างขึ้นนั้นจะทำหน้าที่ดึงลักษณะบุคลิกภาพภายในทั้งที่รู้ตัวหรือซ่อนเร้นอยู่ให้ตอบสนองออกมาเป็นพฤติกรรมภายนอกในรูปแบบต่างๆ โดยจะนำผลของการตอบสนองทางพฤติกรรมนั้นมาวิเคราะห์ เพื่ออธิบายบุคลิกภาพภายในอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตามผู้ที่จะใช้แบบทดสอบเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝนวิธีการใช้งานและแปลความหมายมาโดยเฉพาะ มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียหายอย่างมากกับผู้ถูกทดสอบแบบประเมินบุคลิกภาพมีความแตกต่างกับแบบทดสอบหรือข้อสอบทั่วๆ ไป
เพราะแบบประเมินบุคลิกภาพไม่มีคะแนนสำหรับการสอบผ่านหรือการสอบตกแต่ถูกออกแบบมาเพื่อวัดเจตคติ นิสัยใจคอ และค่านิยมในมุมมองที่หลากหลาย สำหรับแบบประเมินบุคลิกภาพที่ถูกออกแบบสำหรับการนำไปใช้กับนักกีฬา (Cox, 2012) เช่น
3.1 แบบประเมินแรงจูงใจของนักกีฬา (Athletic motivationinventory: AMI) เป็นการประเมินบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ
การประสบความสำเร็จทางการกีฬา ประกอบด้วย แรงขับ ความก้าวร้าว การตัดสินใจ
ความรับผิดชอบ ภาวะผู้นำ ความเชื่อมั่นในตนเอง การควบคุมอารมณ์ ความเข้มแข็ง
ทางจิตใจ ความสามารถในการเป็นผู้นำ การมีสติ และความเชื่อ แต่ทั้งนี้
จากการนำแบบประเมินแรงจูงใจของนักกีฬาไปใช้กับนักกีฬาฮ๊อกกี้น้ำแข็ง พบว่าผลที่ได้
จากการตอบแบบประเมินฯ มีค่าการทำนายความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาต่ำมาก
3.2 แบบประเมินคุณลักษณะการเป็นแชมป์ (Wining profileathletic instrument) เป็นการประเมินการมีสติและความเข้มแข็งทางจิตใจซึ่งจากการนำแบบประเมินคุณลักษณะการเป็นแชมป์ไปใช้พบว่านักกีฬาระดับ

มหาวิทยาลัยกับนักกีฬาอาชีพมีคุณลักษณะการเป็นแชมป์แตกต่างกัน

          อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556

                          จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)

การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking)   การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน ( New Original) ใช้การได้ ( Workable) และมีความเหมาะสม ( Appropriate) การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า "นวัตกรรม" ( Innovation) ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking 2. เป็นการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร หรือ Constructive thinking 3. เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ ม

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ทรม