ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บุคลิกภาพทางการกีฬา (Personality of Sport)


บุคลิกภาพทางการกีฬา
(Personality of Sport)

ความหมายของบุคลิกภาพทางการกีฬา
บุคลิกภาพ (Personality) มาจากคำในภาษาลาตินว่า “Persona”แปลว่า หน้ากาก ซึ่งหมายถึงหน้ากากที่ชาวกรีกใช้ในการแสดงละคร เมื่อสวมหน้ากากเป็นตัวอะไรก็ต้องแสดงบทบาทไปตามตัวละครนั้น นักจิตวิทยาการกีฬาให้นิยามของ
บุคลิกภาพทางการกีฬา” ไว้ว่าบุคลิกภาพทางการกีฬา หมายถึง คุณลักษณะโดยรวมทั้งหมดของบุคคลหรือนักกีฬา ซึ่งประกอบด้วย คุณลักษณะภายนอก ได้แก่ รูปร่างหน้าตา กิริยาท่าทาง และคุณลักษณะภายใน ได้แก่ นิสัยใจคอ ความคิด ความเชื่อ เจตคติ ค่านิยมและอารมณ์ ซึ่งคุณลักษณะทั้งหลายเหล่านี้เป็นตัวกำหนดรูปแบบของพฤติกรรมการแสดงออกทางการกีฬาจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อันมีผลทำให้บุคคลหรือนักกีฬาคนนั้นแตกต่างจากบุคคลอื่น นอกจากนั้นบุคลิกภาพยังเป็นผลร่วมอย่างมีระบบของพฤติกรรมต่างๆ ตลอดจนเจตคติและค่านิยม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะนิสัยเฉพาะตัวบุคคล อาจกล่าวได้ว่าบุคลิกภาพเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างคงเส้นคงวาซึ่งทำให้บุคคลมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีความเฉพาะเจาะจง ดังนั้นการศึกษาเรื่อบุคลิกภาพทางการกีฬาจะทำให้เข้าใจลักษณะของนักกีฬาได้อย่างดีขึ้น
โครงสร้างบุคลิกภาพของนักกีฬา
โครงสร้างบุคลิกภาพของนักกีฬา แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้คือ
1.บุคลิกภาพที่อยู่ด้านในลึกที่สุด หรือแกนกลางของจิตใจ(Psychological core)
บุคลิกภาพที่อยู่ด้านในลึกที่สุด ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อบุคลิกภาพของบุคคลอย่างมาก เพราะค่อนข้างมีความคงที่ไม่ว่าวันเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ลักษณะบุคลิกภาพส่วนนี้ยังเหมือนเดิม เปลี่ยนแปลงได้ยากมากเพราะเป็นเรื่องเจตคติ ความสนใจ และความเชื่อส่วนบุคคล รวมถึงความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองด้วยบุคลิกภาพที่อยู่ลึกที่สุดของจิตใจเป็นสิ่งที่แสดงถึงตัวตนที่แท้จริงของบุคคลไม่ใช่ใครที่คนอื่นคิดให้คุณเป็น
2.บุคลิกภาพที่เกิดขึ้นและมีการตอบสนองที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัว(Typical responses)
การตอบสนองที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล เป็นตัวบ่งชี้ว่าจะต้องแสดงพฤติกรรมอย่างไรในบริบทของสังคม บุคคลต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งที่อยู่รอบตัวเสมอ
3. บุคลิกภาพที่มีความเกี่ยวข้องกับบทบาททางสังคม(Role related behavior)

พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับบทบาทสังคม เป็นการแสดงพฤติกรรมที่มีพื้นฐาน

จากการรับรู้สถานการณ์ทางสังคม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามการรับรู้ของตนเองที่มีต่อสถานการณ์ทางสังคม ความแตกต่างของสถานการณ์เป็นสิ่งที่ทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การดำเนินชีวิตตลอดวัน บุคคลสามารถแสดงบทบาทของตนเองได้ทั้งบทบาทของนักเรียน ผู้ฝึกสอน ลูกจ้าง และเพื่อน ซึ่งการแสดงบทบาทในแต่ละหน้าที่เป็นไปตามบทบาทที่สังคมกำหนดให้ เช่น การแสดงบทบาทผู้นำจะมีความเหมาะสมเมื่ออยู่ในฐานะผู้ฝึกสอน ไม่ใช่ฐานะของนักเรียน หรือลูกจ้างในบางครั้งอาจพบได้ว่าการแสดงแต่ละบทบาทอาจมีความขัดแย้งกันได้ เช่น พ่อแม่ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนให้ลูก เพราะโดยทั่วไปบทบาทของพ่อแม่ คือ การให้ความรัก เอาอกเอาใจซึ่งจะให้ความสำคัญกับส่วนนี้มากกว่าการเข้มงวดกวดขันหรือการมีระเบียบวินัยซึ่งตรงข้ามกับการแสดงบทบาทของผู้ฝึกสอนที่ต้องเน้นระเบียบวินัย มีความเข้มงวดในการฝึกซ้อม และต้องเปิดโอกาสให้นักกีฬาคิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเพื่อพร้อมเผชิญกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์การแข่งขันได้

อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556

            จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)

การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking)   การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน ( New Original) ใช้การได้ ( Workable) และมีความเหมาะสม ( Appropriate) การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า "นวัตกรรม" ( Innovation) ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking 2. เป็นการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร หรือ Constructive thinking 3. เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ ม

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ทรม