ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การรักษาและดูแลเบื้องต้นภายหลังการบาดเจ็บจากการกีฬา


การรักษาและดูแลเบื้องต้นภายหลังการบาดเจ็บจากการกีฬา







           ภายหลังการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ผู้เล่นควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง ส่วนของ ร่างกายที่ได้รับการบาดเจ็บนั้นจะหายเป็นปกติได้ แต่ถ้าเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรงหรือได้รับการรักษาที่ไม่ ถูกต้องอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนและส่งผลให้กลับไปเล่นกีฬาต่อไม่ได้ ดังนั้น ผู้เล่นจึงควรได้รับการดูแลและ รักษาเบื้องต้น ซึ่งสามารถท าได้ด้วยตนเองก่อนที่จะไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยแนวทางในการรักษา เบื้องต้นนั้น  ใช้หลัก 4 ย .ดังต่อไปนี้ คือ

       1.หยุด คือ การหยุดหรือพักไม่ให้มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ ทันทีที่สามารถทำได้ การกระทำดังกล่าวจะทำให้เส้นเลือดฝอยที่นำเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นแตกน้อยลง มีผลให้เกิดการบวมของข้อน้อยลง และเส้นเอ็น เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ก็ฉีกขาดน้อยลง และยังป้องกันการบาดเจ็บ ที่จะตามมาอีก

       2.เย็น คือ การให้นำน้ำแข็งหรือน้ำเย็นมาประคบบริเวณอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บทันทีโดยใช้เวลา ในการประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 3 -4 ครั้ง ซึ่งจะมีผลท าให้เส้นเลือดที่ฉีกขาดอยู่หดตัว ทำให้มีเลือดมา ไหลเวียนบริเวณที่บาดเจ็บน้อยลงและอาการบวมก็ลดลงตามมาด้วยอีกทั้งความเย็นยังช่วยลดอาการปวด ของข้อได้ด้วย ถ้าหากต้องการใช้ยาทาช่วยในการรักษา ใน 1วันแรกหลังเกิดเหตุห้ามใช้ยาสูตรร้อนเด็ดขาด และให้ทาอย่างเดียวห้ามนวด

       3.ยึด คือ การใช้ผ้ายืดพันยึดข้อบริเวณนั้นไม่ให้เคลื่อนไหวมากขึ้น การพันผ้ายืดที่ถูกต้องให้ใช้ หลักการดังต่อไปนี้
 3.1 ผ้าที่พันต้องอยู่ในลักษณะที่เป็นม้วน แน่น และสะอาด เพื่อให้มีน้าหนักในการพันทุกครั้ง
 3.2 การพันต้องหงายผ้าพันขึ้นเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าหล่นจากมือ
 3.3 การพันเพื่อให้มีประสิทธิภาพต่อส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บที่สุด ควรใช้ส่วนที่เจ็บเป็ นจุดกึ่งกลางและแบ่งพื้นที่ที่จะพัน  ออกไปแต่ละข้าง
 3.4 การพันให้เริ่มจากส่วนปลายของอวัยวะไปยังส่วนโคน เช่นพันจากปลายแขนไปยังต้นแขนเพื่อให้มีการรีดเลือดที่คั่งบริเวณดังกล่าวกลับสู่หัวใจ เป็นการลดบวมได้มากขึ้น
 3.5 วิธีการพันที่จะท าให้เกิดประสิทธิภาพควรพันแบบ เลขแปด ( 8 ) หรือแบบไขว้เพราะการพัน
ด้วยวิธีดังกล่าวจะท าให้อวัยวะถูกยึดแน่น หากด้านใดด้านหนึ่งถูกดึงรั้ง ผ้ายืดอีกด้านจะดึงรั้งกลับให้ทันท



4. ยก คือ การยกหรือการจัดส่วนของร่างกายที่บาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณดังกล่าวน้อยลง ทำให้อาการบวมลดลง สามารถกระทำได้ทั้งตอนประคบเย็น หรือขณะนอนพักผ่อน






อ้างอิง :ประวิตร เจนวรรธนะกุล.กายภาพบำบัดทางการกีฬา.พิมพ์ครั งที่ 1 กรุงเทพฯ: บ.วี พรินท์ (1991) จำกัด,2551.
             .อุมาภรณ์ คงอุไร.การป้องกันและการปฐมพยาบาล การบาดเจ็บทางการกีฬา พิมพ์ครั้งแรก.กรุงเทพฯ :บ.สำนักพิมพ์ ดวงกมล(2520) จ ากัด ,2543.

อ้างอิงรูปภาพ : https://www.bumrungrad.com/rehabilitation-clinic-sathorn/procedures/physical-therapy

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Motivation in Sport( แรงจูงใจทางการกีฬา)

แรงจูงใจทางการกีฬา (Motivation in Sport)               แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ผู้ที่มีแรงจูงใจจะใช้ความพยายามในการกระ ทำเพื่อไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละแต่ผู้ที่ ไม่มีแรงจูงใจจะไม่แสดงความพยายามหรือเลิกกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย             กระบวนการจูง ความต้องการของบุคคลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทาง ( Direction) และระดับความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ( Intensity) ประเภทของแรงจูงใจ     1. แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากความต้องการภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจการเห็นคุณค่าในตนเอง ความพอใจ ความต้องการ เป็นต้น     2. แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากภายนอกตัวบุคคล อาจเป็นการได้รับรางวัลเกียรติยศ ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับการยกย่องชมเชย               ผู้ฝึกสอน ควรเน้นให้นักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีอิสระในการตัดสินใจหร...

The muscle function(การทำงานของกล้ามเนื้อ)

การทำงานของกล้ามเนื้อ ร่างกายของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อหลายร้อยมัด การเคลื่อนไหวของร่างกายจะเป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อหลายมัดประสานสัมพันธ์กัน การเคลื่อนไหวโดยทั่วไปจะมีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ต่างๆ คือ 1 Agonist muscle / Prime moves คือกล้ามเนื้อหลักที่มีการหดตัวเพื่อให้เกิดการ เคลื่อนไหวข้อต่อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวในท่าทางต่างๆ และมีการเคลื่อนที่ 2 Synergist muscle คือกล้ามเนื้อที่หดตัวเพื่อช่วยกล้ามเนื้อหลักหรือกล้ามเนื้อ เสริม กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ไม่ใช้กล้ามเนื้อกลุ่มแรกในการหดตัวตอบสนองในท่าทางนั้นๆ 3 Antagonist muscle คือกลุ่มกล้ามเนื้อมัดตรงข้ามกับกลุ่มกล้ามเนื้อหลัก จะ คลายตัวเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ท าหน้าที่เคลื่อนไหวข้อต่อในทิศทางตรงข้ามกลุ่มกล้ามเนื้อหลักเพื่อสร้างความสมดุลของแรง 4 Stabilizer muscle คือกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยรักษาสมดุลของการเคลื่อนไหวนั้นให้ แม่นยำถูกต้อง โดยการหดตัวเพื่อยึดหรือประคองอวัยวะส่วนนั้นไม่ให้มีการเคลื่อนที่ อ้างอิง : วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อสุขภาพทางกาย : มณินทร รักษ์บำรุง