การบาดเจ็บที่เกิดในการเล่นกีฬา
การบาดเจ็บที่เกิดในการเล่นกีฬาสามารถแบ่งออกเป็น
2 ประเภทได้แก่
1. Acute injury เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือจากแรงมา
กระทําโดยการ บาดเจ็บหรืออุบัติเหตุที่ได้รับมีความรุนแรงมากพอที่จะทําให้เกิดอาการบาดเจ็บขึ้นมาในทันที
และมักจะมีอาการบวม ตามมา โดยจะบวมจะเกิดขึ้นมากที่สุดหลังจากได้รับบาดเจ็บประมาณ
2-3 ชั่วโมง ดังนั้นในการตรวจและประเมินผู้ที่ ได้รับบาดเจ็บจากกีฬาควรกระทําทันทีหลังได้รับบาดเจ็บ
เพราะอาการบวมที่เกิดขึ้นภายหลังอาจจะทําให้การตรวจ ร่างกาย และประเมินการบาดเจ็บได้ลําบากมากขึ้น
การบาดเจ็บเฉียบพลันที่พบบ่อย ได้แก่ กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีกขาด ข้อเคลื่อน
และบาดแผลฟกช้ำ (ในบทความนี้ เนื้อหาของกระดูกหักและข้อเคลื่อนจะไม่ขอกล่าวในที่นี้)
2. Overuse injury เป็นการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับอุบัติเหตุหรือแรงมากระทําซ้ำๆ
(repetitive injury) โดยการบาดเจ็บหรือแรงที่มากระทําในแต่ละครั้งมีความรุนแรงไม่มากพอที่จะทําให้เกิดอาการบาดเจ็บขึ้นมา
ในทันที ร่างกายจะมีการซ่อมแซมและปรับสภาพ แต่เนื่องจากได้รับบาดเจ็บต่อเนื่องซ้ำๆ
จนร่างกายไม่สามารถ ซ่อมแซมได้ทัน ทําให้เกิดอาการตามมาภายหลัง
ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดการบาดเจ็บชนิดนี้คือ ความรุนแรงและ
ความถี่ของการบาดเจ็บ ส่วนปัจจัยเสริมอื่นที่จะทําให้เกิดการบาดเจ็บง่ายขึ้นได้แก่
แนวของรยางค์ผิดปกติ (malalignment)
กล้ามเนื้อไม่สมดุล (muscle imbalance) การฝึกฝนที่ผิด
และ การใช้อุปกรณ์ผิดประเภท ล้วนกระตุ้น ให้เกิดภาวะบาดเจ็บนี้ได้ การบาดเจ็บชนิดนี้พบได้บ่อยในระหว่างการฝึกฝนกีฬา
(training)
อ้างอิง :เอกสารประกอบการสอน เรื่อง
การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โดย นพ.ชูศักดิ์ กิจคุณาเสถียร
รูปภาพ : http://www.hotgolfclub.com/page.php?a=10&n=308&cno=1535
รูปภาพ : http://www.hotgolfclub.com/page.php?a=10&n=308&cno=1535
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น