ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา


การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา



เนื่องจากการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาต้องการการเคลื่อนไหว และการใช้กำลังของกล้ามเนื้อมากกว่าปกติ จึงมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากขึ้นกว่าปกติ


การป้องกันดังกล่าวต้องอาศัยการฝึกฝนเพื่อให้ข้อต่อมีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นปกติ และที่สำคัญคือ กล้ามเนื้อต่างๆ ต้องมีความยืดหยุ่นที่ดีพอ และต้องมีความแข็งแรงทนทาน เพื่อป้องกันปัญหากล้ามเนื้อฉีกขาด หรืออักเสบ
การฝีกความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ คือ การบริการเหยียดกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนการเล่นกีฬา ส่วนการฝึกความแข็งแรงทนทายของกล้ามเนื้อ คือ การเสริมสร้างกำลัง โดยอาศัยน้ำหนักถ่วง weight training และฝึกให้กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง
นอกนั้น ปัจจัยภายนอก เช่น สนามกีฬา อุปกรณ์ และเครื่องป้องกันต่างๆ แต่ละชนิดกีฬาก็มีความสำคัญ ทางสถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายกรุงเทพ (BASEM) โรงพยาบาลกรุงเทพ มีคำแนะนำฝึกฝน เพื่อความเข้าใจในการป้องกันการบาดเจ็บดังกล่าว

 

ปวดไหล่ ไหล่ติดยึด


ข้อไหล่ เป็นข้อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกาย ดังนั้น ปัญหาทุกปัญหาที่เกิดกับข้อไหล่มักจะก่อให้เกิดปัญหาข้อไหล่ติดหรือเคลื่อน ไหวไม่สุด โดยเฉพาะเมื่อไขว้หลัง หรือพยายามจะเกาหลัง เป็นต้น
ปัญหาข้อไหล่ติดมักจะเป็นผลที่ตามมาของหัวไหล่ เช่น ปวดไหล่ นอนทับตะแคงแล้วเจ็บในเวลากลางคืน แล้วต่อมาเกิดไหล่เคลื่อนไหวไม่สุด
ดังนั้นเมื่อเกิดข้อไหล่ติดยึด แพทย์จำเป็นต้องมีการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของข้อไหล่ติดยึด เพื่อจะทำให้แพทย์รักษาได้ถูกต้องไปที่ต้นตอของสาเหตุปัญหา และจะทำให้อาการปวด เจ็บ ข้อไหล่ติดหายขาดได้ในเวลาที่รวดเร็วที่สุด

  

ไหล่หลุดซ้ำ หลังจากอุบัติเหตุข้อไหล่หลุด

เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับข้อไหล่จนข้อไหล่หลุดออกจากเบ้าในครั้งแรก ผู้ป่วยมักจะเจ็บปวดมาก และอาจจำเป็นต้อไปให้แพทย์ดุงข้อไหล่ให้กลับเข้าที่ แต่หลังจากนั้นปัญหาที่มักจะเกิดตามมาอยู่เสมอคือ ไหล่หลวมและหลุดซ้ำ ซึ่งการหลุดซ้ำจะง่าย และเจ็บปวดน้วยลงในทุกครั้งที่จำนวนครั้งของข้อไหล่หลุดมากขึ้น
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยจะมีปัญหาในการใช้งาน ชีวิตประจำวัน เช่น นอนแล้วไหล่หลุดเองกลางดึก หรือมีปัญหาขณะทำงาน หรือออกกำลังกาย ซึ่งข้อไหล่ที่หลุดง่ายจนรบกวนชีวิตประจำวัน ควรได้รับการแก้ไขให้หายขาดและสามารถกลับมาใช้งานข้อไหล่ได้ดีเหมือนเดิม โดยเฉพาะการเล่นกีฬา
การแก้ไขดังกล่าวคือ การผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่เพื่อทำงานเย็บซ่อมเอ็นที่ฉีกขาดให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยการผ่าตัดส่องกล้องจะทำให้บาดเจ็บน้อย ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาล 1 วัน กลับมาใช้งานได้เร็วขึ้น และผลของการผ่าตัดดีกว่าการผ่าตัดแบบเดิม เวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดที่น้อยลงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในนักกีฬาที่ต้องการกลับมาใช้งานในเวลาที่รวดเร็ว


ทำอย่างไรเมื่อเอ็น หรือหมอนรองกระดูกในข้อเข่าฉีกขาด

เมื่อเกิดอุบัติเหตุข้อเข่าบิด พลิกอาจจะเกิดปัญหาเอ็นหรือหมอนรองกระดูกในข้อเข่าฉีกขาดได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดเข่าบิดแล้วมีเสียงดังขณะอุบัติเหตุ หรือมีอาการปวด เจ็บเข่าและเข่าบวมหลังจากนั้น
แพทย์เฉพาะทางจะทำการตรวจร่างกาย และทำการวินิจฉัยพิเศษด้วยเครื่องมือที่จำเป็น อาทิ x-ray, MRI ต่อไป เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
หลังจากมีอุบัติเหตุเข่าบิด พลิก ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวมข้อเข่าค่อนข้างมาก แต่หลังจากได้พัก ได้ยาแก้อักเสบ ประคบเย็นสักระยะแล้ว อากาจจะดีขึ้นมากจนสามารถเดินได้ แต่ผู้ป่วยจะมีอาการที่ยังหลงเหลืออยู่ เช่น เจ็บแปล๊บในเข่า เข่าบวมเมื่อใช้งานหรือเดินยืนนาน เข่าหลวม โดยเฉพาะเวลาเดินเลี้ยวเร็วๆ หรือขึ้นลงบันได ซึ่งอาการดังกล่าวจะไม่หายไปจนกว่าอาการฉีกขาดของเอ็นและหมอนรองกระดูก ข้อเข่าจะได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง


สอบถามเพิ่มเติม สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ

อ้างอิง
- See more at: http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/protection-of-sport-injury#sthash.f8hxlUqz.dpuf

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)

การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking)   การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน ( New Original) ใช้การได้ ( Workable) และมีความเหมาะสม ( Appropriate) การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า "นวัตกรรม" ( Innovation) ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking 2. เป็นการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร หรือ Constructive thinking 3. เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ ม

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ทรม