ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

VO2 max

VO2 max คือ ค่า หรือเครื่องมือที่บ่งบอกถึงสมรรถภาพของร่างกาย ซึ่งใช้มากทางเวชศาสตร์การกีฬา เป็นการวัดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำออกซิเจนจากในเลือดส่งไปยังกล้ามเนื้อ เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


โดยทางทฤษฎี คนที่มีค่า VOmax มาก แสดงว่ามีความสามารถในการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic exercise) ได้ดีกว่า ดังนั้น ค่า VOmax จึงเป็นตัวบ่งบอกถึงระดับความฟิตของร่างกายได้ นักกีฬาผู้นั้น จึงมีโอกาสที่จะมีความฟิตมากกว่า ออกกำลังได้ดีกว่า และนานกว่านั่นเอง
ค่า VOmax จะขึ้นกับเพศ อายุ ระดับการออกกำลังกาย สภาพของหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงกรรมพันธุ์ ซึ่งโดยทั่วไปค่านี้จะมีค่าสูงในช่วงอายุ 15-35 ปี และค่อยๆลดลงตามช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้น
นักกีฬาที่มีค่า VOmax ต่ำ จะมีความสามารถที่จะนำออกซิเจนไปใช้ได้น้อย ส่งผลให้ต่อมามีการสะสมของของเสียมากขึ้น คือ กรดแลกติก ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อมีการปวดและเมื่อยล้า เพราะฉะนั้น นักกีฬาที่ความฟิตต่ำ หรือ มีค่า VOmax ต่ำ จะผลิตกรดแลกติกเร็ว และจะมีปัญหากับความเหนื่อยล้ามากกว่านักกีฬาที่มีความฟิตกว่า หรือมีค่า VOmax สูง ในการออกกำลังกายที่ระดับความหนักเดียวกัน

วิธีการวัดสมรรถภาพความฟิตของร่างกาย หรือการหาค่า VOmax

ผู้ถูกทดสอบจะทำการถูกทดสอบโดยการวิ่งบนลู่วิ่ง (Threadmill) โดยผู้ถูกทดสอบจะมีอุปกรณ์มาติดตั้งเพื่อใช้ในการคำนวณหาค่า VOmax เพื่อประเมินหาค่าระดับความฟิตของร่างกาย
ผู้ถูกทดสอบ จะมีโปรแกรมการวิ่งเพื่อให้ร่างกายมีการออกกำลังในระดับที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการเพิ่มความเร็วและความขันบนลู่วิ่ง จนถึงระดับที่ร่างกายของผุ้ถูกทดสอบไม่สามารถที่จะเพิ่มระดับความหนักของการออกกำลังกายได้อีก ที่จุดนี้ เครื่องที่ใช้คำนวณค่าความฟิตของร่างกาย จะได้ค่าออกซิเจน ที่ไปประมวลผลค่า VOmax ของผู้ถูกทดสอบ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการมาทดสอบหาค่า VOmax

ผู้ถูกทดสอบ จะสามารถทราบค่าระดับความฟิตของร่างกายได้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการออกรูปแบบโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล เพื่อใช้ในการเพิ่มความฟิตของร่างกายได้ต่อไปในอนาคต
อ้างอิง
บทความโดย นพ.อานันท์ วิชยานนท์ ศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์
- See more at: http://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/vo2-max#sthash.C2spqz3d.dpuf

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative thinking)

การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking)   การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creative thinking) หมายถึง ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความคิดที่หลากหลาย คิดได้กว้างไกล หลายแง่หลายมุม เน้นทั้งปริมาณและคุณภาพ องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ไม่เคยมีมาก่อน ( New Original) ใช้การได้ ( Workable) และมีความเหมาะสม ( Appropriate) การคิดเชิงสร้างสรรค์จึงเป็นการคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างไปโดยสิ้นเชิงหรือที่เรียกว่า "นวัตกรรม" ( Innovation) ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1. เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking 2. เป็นการกระทำที่ไม่ทำร้ายใคร หรือ Constructive thinking 3. เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking วิธีการฝึกเพื่อพัฒนาศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ ม

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ทรม