ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา
(Aggressive in sport)

        ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรมลักษณะของความก้าวร้าว

ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ

   1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจทำร้าย เป็นความก้าวร้าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ทรมานและเจ็บปวด ความก้าวร้าวลักษณะนี้ เป็นการแสดงความก้าวร้าวแบบโต้ตอบ และแบบโกรธเป็นความต้องการและความตั้งใจที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับการบาดเจ็บโดยมีพฤติกรรมที่ต้องการทำร้ายร่างกายและจิตใจของผู้อื่น
   2. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบเป็นเครื่องมือ เป็นความก้าวร้าวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการแข่งขันโดยมีแรงเสริม คือชัยชนะ ชื่อเสียง เป็นต้น พฤติกรรมความก้าวร้าวลักษณะนี้ เป็นความตั้งใจให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บแต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับความรู้สึกโกรธ
   3. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบฮึกเหิม เป็นความก้าวร้าวที่เป็นลักษณะพฤติกรรมแสดงออกจากการใช้ร่างกายในทางที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎกติกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการแข่งขันแต่ไม่ต้องการทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ นักกีฬาเท่านั้นที่จะรับรู้ได้ว่าพฤติกรรมที่แสดงออกเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจจะทำร้ายผู้อื่น

อ้างอิง : แนวคิดและการประเมินตนเองทางจิตวิทยาการกีฬา.-- กรุงเทพฯ : กรมพลศึกษากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2558. 184 หน้า.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Motivation in Sport( แรงจูงใจทางการกีฬา)

แรงจูงใจทางการกีฬา (Motivation in Sport)               แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ผู้ที่มีแรงจูงใจจะใช้ความพยายามในการกระ ทำเพื่อไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละแต่ผู้ที่ ไม่มีแรงจูงใจจะไม่แสดงความพยายามหรือเลิกกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย             กระบวนการจูง ความต้องการของบุคคลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทาง ( Direction) และระดับความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ( Intensity) ประเภทของแรงจูงใจ     1. แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากความต้องการภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจการเห็นคุณค่าในตนเอง ความพอใจ ความต้องการ เป็นต้น     2. แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากภายนอกตัวบุคคล อาจเป็นการได้รับรางวัลเกียรติยศ ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับการยกย่องชมเชย               ผู้ฝึกสอน ควรเน้นให้นักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีอิสระในการตัดสินใจหร...

The muscle function(การทำงานของกล้ามเนื้อ)

การทำงานของกล้ามเนื้อ ร่างกายของเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อหลายร้อยมัด การเคลื่อนไหวของร่างกายจะเป็นการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อหลายมัดประสานสัมพันธ์กัน การเคลื่อนไหวโดยทั่วไปจะมีกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ต่างๆ คือ 1 Agonist muscle / Prime moves คือกล้ามเนื้อหลักที่มีการหดตัวเพื่อให้เกิดการ เคลื่อนไหวข้อต่อ ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวในท่าทางต่างๆ และมีการเคลื่อนที่ 2 Synergist muscle คือกล้ามเนื้อที่หดตัวเพื่อช่วยกล้ามเนื้อหลักหรือกล้ามเนื้อ เสริม กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ไม่ใช้กล้ามเนื้อกลุ่มแรกในการหดตัวตอบสนองในท่าทางนั้นๆ 3 Antagonist muscle คือกลุ่มกล้ามเนื้อมัดตรงข้ามกับกลุ่มกล้ามเนื้อหลัก จะ คลายตัวเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ท าหน้าที่เคลื่อนไหวข้อต่อในทิศทางตรงข้ามกลุ่มกล้ามเนื้อหลักเพื่อสร้างความสมดุลของแรง 4 Stabilizer muscle คือกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยรักษาสมดุลของการเคลื่อนไหวนั้นให้ แม่นยำถูกต้อง โดยการหดตัวเพื่อยึดหรือประคองอวัยวะส่วนนั้นไม่ให้มีการเคลื่อนที่ อ้างอิง : วิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อสุขภาพทางกาย : มณินทร รักษ์บำรุง