ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2016

physical fitness/ physical Performance(สมรรถภาพทางกายของมนุษย์)

สมรรถภาพทางกายของมนุษย์  ( physical fitness/ physical Performance) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 1. Health Related Fitness (HRF) หรือสุขสมรรถนะ เป็นสมรรถภาพทางกายที่ เกี่ยวข้องกับสุขภาพที่จำเป็น ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายด้านนี้ดีจะมีสุขภาพที่แข็งแรง หัวใจและปอดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีรูปร่างที่สมส่วนมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและอดทน สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้กระฉับกระเฉงว่องไวไม่เหนื่อยง่าย และมีแรงหรือพลังเพียงพอที่จะทำกิจกรรมยามว่างได้ด้วย 2. Skill Related Fitness, Motor Fitness/ Motor Ability (SRF) หรือทักษะ สมรรถนะ เป็นสมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับทักษะกีฬา สมรรถภาพทางกลไก ที่จำเป็น ต้องมีเพิ่มเติมขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องออกกำลังกายในระดับสูงหรือเป็นนักกีฬา สมรรถภาพทางกายด้านนี้เป็นการรวมสุขสมรรถนะเข้ากับสมรรถภาพการเคลื่อนไหวร่างกายในระดับสูง ร่วมไปถึงการทำงานประสานกันอย่ำงกลมกลืนระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ     สามารถแยกประเภทสมรรถภาพในด้านต่างๆ ดังนี้ ( Thomas R. Baeche &Roger, 2000) 1. ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ( cardio- respir...

Coach(การหมดไฟในผู้ฝึกสอนกีฬา)

การหมดไฟในผู้ฝึกสอนกีฬา ( Coach)          ผู้ฝึกสอนที่มีการหมดไฟเกิดขึ้นนั้น มักมีสาเหตุส่วนใหญ่จากความกดดันที่ต้องนำพาทีมสู่ชัยชนะในการแข่งขันแต่ละครั้ง การแทรกแซงต่างๆ ทั้งจากระบบการบริหารจัดการทีมกีฬา จากผู้ปกครองรวมไปถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลการรักษาระเบียบวินัย ความต้องการให้มีความสมบูรณ์เกิดขึ้นมากที่สุด ความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมและการแข่งขัน และความกดดันจากภายนอกอื่นๆ สามารถนำพาผู้ฝึกสอนให้เกิดการหมดไฟได้ อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556                            จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Officials(การหมดไฟในเจ้าหน้าที่กีฬา)

การหมดไฟในเจ้าหน้าที่กีฬา ( Officials)        เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่กับนักกีฬาหรือทีมกีฬาเป็นประจำจะมีความเครียดเกิดขึ้น ซึ่งความรู้สึกที่ไม่ดีเหล่านั้นสามารถจะส่งผลต่อการหมดไฟทางการกีฬาได้นอกจากนั้นอิทธิพลของสังคมรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬา ผู้ฝึกสอน ผู้ชม และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ยังมีผลต่อการหมดไฟทางการกีฬาของเจ้าหน้าที่ได้เช่นกัน ซึ่งเห็นได้บ่อยครั้งว่าเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติงานอยู่กับนักกีฬาหรือทีมกีฬาอาจแสดงความรู้สึกทางลบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้เสมอ อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556                        จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Athletic trainers(การหมดไฟในผู้ฝึกนักกีฬา)

การหมดไฟในผู้ฝึกนักกีฬา ( Athletic trainers)                   ผู้ที่ทำหน้าที่ฝึกซ้อมนักกีฬาเป็นระยะเวลานานตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังการแข่งขัน และบางครั้งยังต้องทำงานอื่นๆ ร่วมด้วยตลอดทั้งวัน รวมถึงการดูแลนักกีฬาที่อาจมีความหลากหลายของกลุ่มอายุแต่อยู่ภายในทีมเดียวกัน การทำงานเหล่านี้ซ้ำๆ นานๆ ย่อมมีโอกาสให้เกิดความเครียดได้ ผู้ฝึกนักกีฬาที่มีบุคลิกภาพแบบ A มีโอกาสเกิดภาวะหมดไฟได้มากกว่าผู้ฝึกนักกีฬาที่มีบุคลิกภาพแบบ B ดังนั้นผู้ฝึกนักกีฬาที่ต้องทำหน้าที่หลายบทบาท มักเกิดอาการสับสนและไม่ชัดเจนในบทบาทที่แท้จริงของตนเอง จึงเป็นสาเหตุของการเกิดการหมดไฟทางการกีฬา          ( บุคลิกภาพแบบ A ชอบอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ค่อยควบคุมตนเอง ชอบทำตามใจดังที่ตนปรารถนา เก็บตัว ไม่ชอบเลียนแบบ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่ชอบงานที่เป็นระเบียบแบบแผน ส่วนบุคลิกภาพแบบ B ชอบความสนุกและคลายเครียด มากกว่าจะเล่นเพื่อเอาชนะ) อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556 ...

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุปร...

กุญแจ 3 ประการ สู่ความสำเร็จ

กุญแจ 3 ประการ สู่ความสำเร็จ   ความชัดเจน ความสามารถ ความมุ่งมั่น     ความชัดเจน คือ ต้องรู้ว่าเราคือใคร ต้องการอะไรและจะไปทางไหน มีแผนหรือไม่และทำอะไรตามแผนนั้นให้เป็นจริงแล้วบ้าง ในแต่ละวันจัดลำดับความสำคัญของเรื่องราวต่างๆอย่างไร ซึ่งถ้าทำแล้วและมีความก้าวหน้า จะมีความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น มีความเชื่อ และศรัทธาในตัวเองเพิ่มขึ้นความชัดเจน ความสามารถ ความมุ่งมั่น     ความสามารถ คือ ต้องเก่งในเส้นทางที่เลือกด้วยการอุทิศตนให้กับการเรียนรู้ที่ ไม่มีที่สิ้นสุดไม่เคยหยุดที่จะเติบโต และจะรู้สึกผูกพันกับสิ่งที่ทำทุกๆวัน      ความมุ่งมั่น คือ วินัยในตนเองที่จะบังคับตัวเองให้มีจิตใจเด็ดเดี่ยว อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และยึดมั่นกับการทำสิ่งนั้นจนกว่าจะสำเร็จ มีความอดทนที่ปราศจากการเบี่ยงเบน มุ่งไปเป็นเส้นตรงอย่างไม่ท้อแท้กับอุปสรรคนานัปการ อ้างอิง : แนวคิดและการประเมินตนเองทางจิตวิทยาการกีฬา.-- กรุงเทพฯ : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา , 2558. 184 หน้า.

Motivation in Sport( แรงจูงใจทางการกีฬา)

แรงจูงใจทางการกีฬา (Motivation in Sport)               แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ผู้ที่มีแรงจูงใจจะใช้ความพยายามในการกระ ทำเพื่อไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละแต่ผู้ที่ ไม่มีแรงจูงใจจะไม่แสดงความพยายามหรือเลิกกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย             กระบวนการจูง ความต้องการของบุคคลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทาง ( Direction) และระดับความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ( Intensity) ประเภทของแรงจูงใจ     1. แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากความต้องการภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจการเห็นคุณค่าในตนเอง ความพอใจ ความต้องการ เป็นต้น     2. แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากภายนอกตัวบุคคล อาจเป็นการได้รับรางวัลเกียรติยศ ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับการยกย่องชมเชย               ผู้ฝึกสอน ควรเน้นให้นักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีอิสระในการตัดสินใจหร...