แหล่งพลังงานกับกีฬาประเภทต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ 4 ระบบ ดังนี้
1. แหล่งพลังงานจากระบบ เอทีพี-ซีพี (ATP-CP system)
กล้ามเนื้อจะนำมาใช้เมื่อมีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ใช้เวลาปฏิบัติน้อยกว่า 30 วินาที ได้แก่ ขว้างจักร ยกน้ำหนัก และวิ่ง 100 เมตร เป็นต้น
2. แหล่งพลังงานจากระบบ เอทีพี-ซีพี และระบบกรดแลคติคหรือแอนแอโรบิกไกลโคไลซีส (ATP-CP system and lactic acid system or anaerobic glycolysis)
เน้นกิจกรรมออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่ใช้เวลาปฏิบัติระหว่าง 30 วินาที ถึง 1 นาที 30 วินาที ได้แก่ ว่ายน้ำฟรีสไตล์ 100 เมตร วิ่ง 200 เมตร และ 400 เมตร เป็นต้น
3. แหล่งพลังงานจากระบบกรดแลคติคหรือแอนแอโรบิกไกลโคไลซีส และระบบออกซิเจนหรือระบบแอโรบิก (lactic acid or anaerobic glycolysis and oxygen system or aerobic system)
เป็นกิจกรรมออกกำลังกายและเล่นกีฬา ใช้เวลาปฏิบัติระหว่าง 1 นาที 30 วินาที ถึง 3 นาที ได้แก่ วิ่ง 800-1,500 เมตร ว่ายน้ำ 200 และ 400 เมตร ยิมนาสติก มวย (ยกละ 3 นาที) มวยปล้ำ (ยกละ 2 นาที) เป็นต้น
4. แหล่งพลังงานจากระบบใช้ออกซิเจน (oxygen system)
เป็นกิจกรรมออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่ใช้เวลาปฏิบัติตั้งแต่ 3 นาทีขึ้นไป ได้แก่ การเล่นฟุตบอล วิ่งมาราธอน วิ่งเหยาะ เป็นต้น
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงแหล่งพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬายังขึ้นอยู่กับระดับความหนักของงาน ถ้าออกกำลังกายที่ระดับความหนักของงานเบา คือ ระดับน้อยกว่าร้อยละ 50 ของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ร่างกายจะใช้พลังงานจากไขมันมากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด และเป็นกระบวนการสลายสารพลังงานแบบใช้ออกซิเจน (aerobic process)ถ้าร่างกายออกกำลังกายที่ระดับความหนักของงานหนักปานกลาง คือ ประมาณร้อยละ 60-65 ของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ร่างกายจะใช้พลังงานจากไขมันและคาร์โบไฮเดรตอย่างละเท่า ๆ กัน
ถ้าร่างกายเพิ่มความหนักของงานมากขึ้น เช่น เพิ่มความเร็วในการวิ่ง หรือวิ่ง 100 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นงานหนัก พลังงานที่ใช้ไม่สามารถนำมาจากกระบวนการแอโรบิกได้ จึงต้องใช้พลังงานจากกระบวนการแอนแอโรบิกซึ่งเกิดจากการแตกสลายตัวของระบบเอทีพี-ซีพี (ATP-CP system) ในกล้ามเนื้อและคาร์โบไฮเดรตโดยไม่ใช้ออกซิเจนซึ่งจะผลิตกรดแลคติคออกมาด้วย ทำให้ความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อลดลง และเกิดความเมื่อยล้า
ความนานของการออกกำลังกายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการใช้พลังงานขณะที่ร่างกายยังคงออกกำลังกาย ไกลโคเจนที่เก็บสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อจะลดน้อยลง และไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อจะหมดไปในเวลา 2-3 ชั่วโมง ถ้าออกกำลังกายที่ระดับความหนักร้อยละ 60-80 ของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด และไกลโคเจนจะหมดไปในเวลาสั้นหลังการออกกำลังหนัก ๆ เช่น วิ่งระยะสั้น ว่ายน้ำระยะสั้น เป็นต้น ต่อจากนี้พลังงานส่วนใหญ่จะได้จากกรดไขมัน นักกีฬายังคงออกกำลังกายต่อไปได้แต่ต้องลดความเร็วและลดความหนักของงานลง
อ้างอิง : สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
1. แหล่งพลังงานจากระบบ เอทีพี-ซีพี (ATP-CP system)
กล้ามเนื้อจะนำมาใช้เมื่อมีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ใช้เวลาปฏิบัติน้อยกว่า 30 วินาที ได้แก่ ขว้างจักร ยกน้ำหนัก และวิ่ง 100 เมตร เป็นต้น
2. แหล่งพลังงานจากระบบ เอทีพี-ซีพี และระบบกรดแลคติคหรือแอนแอโรบิกไกลโคไลซีส (ATP-CP system and lactic acid system or anaerobic glycolysis)
เน้นกิจกรรมออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่ใช้เวลาปฏิบัติระหว่าง 30 วินาที ถึง 1 นาที 30 วินาที ได้แก่ ว่ายน้ำฟรีสไตล์ 100 เมตร วิ่ง 200 เมตร และ 400 เมตร เป็นต้น
3. แหล่งพลังงานจากระบบกรดแลคติคหรือแอนแอโรบิกไกลโคไลซีส และระบบออกซิเจนหรือระบบแอโรบิก (lactic acid or anaerobic glycolysis and oxygen system or aerobic system)
เป็นกิจกรรมออกกำลังกายและเล่นกีฬา ใช้เวลาปฏิบัติระหว่าง 1 นาที 30 วินาที ถึง 3 นาที ได้แก่ วิ่ง 800-1,500 เมตร ว่ายน้ำ 200 และ 400 เมตร ยิมนาสติก มวย (ยกละ 3 นาที) มวยปล้ำ (ยกละ 2 นาที) เป็นต้น
4. แหล่งพลังงานจากระบบใช้ออกซิเจน (oxygen system)
เป็นกิจกรรมออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่ใช้เวลาปฏิบัติตั้งแต่ 3 นาทีขึ้นไป ได้แก่ การเล่นฟุตบอล วิ่งมาราธอน วิ่งเหยาะ เป็นต้น
นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงแหล่งพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬายังขึ้นอยู่กับระดับความหนักของงาน ถ้าออกกำลังกายที่ระดับความหนักของงานเบา คือ ระดับน้อยกว่าร้อยละ 50 ของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ร่างกายจะใช้พลังงานจากไขมันมากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด และเป็นกระบวนการสลายสารพลังงานแบบใช้ออกซิเจน (aerobic process)ถ้าร่างกายออกกำลังกายที่ระดับความหนักของงานหนักปานกลาง คือ ประมาณร้อยละ 60-65 ของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด ร่างกายจะใช้พลังงานจากไขมันและคาร์โบไฮเดรตอย่างละเท่า ๆ กัน
ถ้าร่างกายเพิ่มความหนักของงานมากขึ้น เช่น เพิ่มความเร็วในการวิ่ง หรือวิ่ง 100 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นงานหนัก พลังงานที่ใช้ไม่สามารถนำมาจากกระบวนการแอโรบิกได้ จึงต้องใช้พลังงานจากกระบวนการแอนแอโรบิกซึ่งเกิดจากการแตกสลายตัวของระบบเอทีพี-ซีพี (ATP-CP system) ในกล้ามเนื้อและคาร์โบไฮเดรตโดยไม่ใช้ออกซิเจนซึ่งจะผลิตกรดแลคติคออกมาด้วย ทำให้ความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อลดลง และเกิดความเมื่อยล้า
ความนานของการออกกำลังกายก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการใช้พลังงานขณะที่ร่างกายยังคงออกกำลังกาย ไกลโคเจนที่เก็บสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อจะลดน้อยลง และไกลโคเจนที่สะสมในกล้ามเนื้อจะหมดไปในเวลา 2-3 ชั่วโมง ถ้าออกกำลังกายที่ระดับความหนักร้อยละ 60-80 ของสมรรถภาพการจับออกซิเจนสูงสุด และไกลโคเจนจะหมดไปในเวลาสั้นหลังการออกกำลังหนัก ๆ เช่น วิ่งระยะสั้น ว่ายน้ำระยะสั้น เป็นต้น ต่อจากนี้พลังงานส่วนใหญ่จะได้จากกรดไขมัน นักกีฬายังคงออกกำลังกายต่อไปได้แต่ต้องลดความเร็วและลดความหนักของงานลง
อ้างอิง : สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น