ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Stretching exercise

หลักการของ Stretching exercise

- ควรยืด (Stretching) โดยใช้แรงน้อยๆ ก่อนและทาค้างนานๆ (Static stretching) ดีกว่าการใช้ แรงมากๆ แต่ทาด้วยเวลาสั้นๆ

- ไม่ควรดัดโดยการออกแรงกระตุกซ้าๆ (Ballistic stretching) เพราะทาให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย

- ขนาดแรงที่เหมาะสมคือ แรงพอที่จะยืดเนื้อเยื่อได้โดยไม่มีการบาดเจ็บและผู้ป่วยทนได้ การดัดมักได้ผลดีถ้ามีการเจ็บเล็กน้อย และอาการเจ็บนั้นหายไปหลังจากหยุดการดัดไม่นานกว่า 24 ชั่วโมง

- การยืดเอ็นขณะที่ข้อบวม ต้องระวังการฉีกขาดของเอ็นและเยื่อหุ้มข้อ เพราะ Tensile strength อาจลดลงมากถึง 50%

- ในการยืดกล้ามเนื้อก่อนหรือหลังการออกกาลังกายของคนปกติ เราควรทาการยืดแบบ Static stretching กล่าวคือเป็นการยืดค้างไว้ นานประมาณ 15-30 วินาทีต่อครั้ง ยืดมัดละประมาณ 5-10 ครั้ง และควรเน้นกลุ่มกล้ามเนื้อที่จะต้องใช้ในการออกกาลังกายเป็นหลัก

- ในการยืดกล้ามเนื้อเพื่อรักษา Myofascial pain syndrome อาจจะใช้ Spray พ่นเพื่อให้ความเย็นลดอาการปวดขณะยืด เพราะจะต้องยืดจนสุดพิสัยของข้อซึ่งอาจทาให้เกิดอาการปวดมากได้ และควร
ยืดแบบ Static stretching หรือยืดสลับกับ active contraction ของกล้ามเนื้อที่กาลังถูกยืดนั้นเป็นช่วงๆ การยืดจะได้ผลสูงสุดเมื่อสามารถยืดจนสุดพิสัย

อ้างอิง ; นพ.จักรกริช กล้าผจญ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , การออกกาลังกายเพื่อการบำบัดรักษา ปรับปรุง 25 มี.ค. 2545

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Motivation in Sport( แรงจูงใจทางการกีฬา)

แรงจูงใจทางการกีฬา (Motivation in Sport)               แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ผู้ที่มีแรงจูงใจจะใช้ความพยายามในการกระ ทำเพื่อไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละแต่ผู้ที่ ไม่มีแรงจูงใจจะไม่แสดงความพยายามหรือเลิกกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย             กระบวนการจูง ความต้องการของบุคคลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทาง ( Direction) และระดับความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ( Intensity) ประเภทของแรงจูงใจ     1. แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากความต้องการภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจการเห็นคุณค่าในตนเอง ความพอใจ ความต้องการ เป็นต้น     2. แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากภายนอกตัวบุคคล อาจเป็นการได้รับรางวัลเกียรติยศ ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับการยกย่องชมเชย               ผู้ฝึกสอน ควรเน้นให้นักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีอิสระในการตัดสินใจหร...

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุปร...