ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

The hypnosis(กระบวนการสะกดจิต)

กระบวนการสะกดจิต

     ในการสะกดจิต โดยทั่วไปจะประกอบด้วยผู้สะกดกับผู้ถูกสะกด ผู้ถูกสะกดจะนั่งบนเก้าอี้ในท่าที่
สบาย ส่วนผู้สะกดเป็นผู้บอกคำสั่งอย่างช้าๆ ด้วยน้ำเสียงเนิบนาบ ให้ผู้ถูกสะกดทำตามเป็นขั้นๆ

   ลักษณะของผู้ถูกสะกดจิต ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นขณะถูกสะกดจิตสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ผู้ถูกสะกดจะขาดการกำหนดแผนการของตนเอง ไม่สามารถ      ริเริ่มทำสิ่งต่างๆได้ด้วยตัวเอง
2. ความสนใจจะมุ่งไปที่จุดใดจุดหนึ่งมากกว่าปกติ
3. ยอมรับการบิดเบือนความจริง ซึ่งโดยทั่วไปคนเราจะแยกแยะได้    ระหว่างความจริงหรือมายา
4. ยอมรับการเสนอแนะของผู้สะกดมากขึ้น และพร้อมที่จะทำใจสิ่ง    ที่ผิดปกติ
5. ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ถูกสะกดจิต

ความสามารถในการถูกสะกดจิต

     คนเรามีความสามารถในการถูกสะกดจิตต่างกัน ความสามารถในการถูกสะกดจิตจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมด้วย จากการศึกษาพบว่าฝาแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันจะมีความสามารถในการถูกสะกดจิตต่างกับฝาแฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ นอกจากนี้การอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็กก็ทำให้บุคคลเกิดและคงไว้ซึ่งความสามารถในการถูกสะกดจิต เช่นเด็กที่ถูกพ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างเข้มงวด เด็กคนนั้นอาจจะหลีกหนีความซ้ำซากด้วยการนั่งหมกมุ่นอยู่ในจินตนาการของตนทำให้ถูกสะกดจิตได้ง่าย

ปรากฏการณ์บางปราการที่เกี่ยวเนื่องกับการสะกดจิต

1. การถอยอายุกลับไปสู่อดีต ผู้ถูกสะกดจิตที่อยู่ในขั้นลึกอาจถูกบอกให้ระลึกภาพกลับไปสู่วัยเด็ก หรือภาพ
ในชาติก่อน ผู้ถูกสะกดจิตจะมีความรู้สึกได้เห็นภาพและได้ยินเสียงอย่างชัดเจนเหมือนอยู่ในช่วงนั้นจริงๆ
2. การกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังการถูกสะกดจิต ผู้สะกดสามารถที่จะแนะนำให้ผู้ถูกสะกดลืมเหตุการณ์ทั้งหมด
ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ถูกสะกดจิต หรือกระทำการใดๆหลังจากที่ตื่นขึ้นมาแล้วจากการถูกสะกดจิต
3. การเปลี่ยแปลงทางการรับรู้ การรู้สึกและความสามารถทางกายอื่นๆ ตามคำบอกแนะของผู้สะกดสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยแปลงขึ้นมาได้










Read move http://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/SSC231/Psychology/Chapter6/Ch6.pdf

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Motivation in Sport( แรงจูงใจทางการกีฬา)

แรงจูงใจทางการกีฬา (Motivation in Sport)               แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ผู้ที่มีแรงจูงใจจะใช้ความพยายามในการกระ ทำเพื่อไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละแต่ผู้ที่ ไม่มีแรงจูงใจจะไม่แสดงความพยายามหรือเลิกกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย             กระบวนการจูง ความต้องการของบุคคลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทาง ( Direction) และระดับความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ( Intensity) ประเภทของแรงจูงใจ     1. แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากความต้องการภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจการเห็นคุณค่าในตนเอง ความพอใจ ความต้องการ เป็นต้น     2. แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากภายนอกตัวบุคคล อาจเป็นการได้รับรางวัลเกียรติยศ ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับการยกย่องชมเชย               ผู้ฝึกสอน ควรเน้นให้นักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีอิสระในการตัดสินใจหร...

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุปร...