ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การหมดไฟ (Burnout) ประเภทของการหมดไฟทางการกีฬา



ประเภทของการหมดไฟทางการกีฬา

ประเภทของการหมดไฟทางการกีฬา

1. การหมดไฟแบบชั่วคราว เป็นการแสดงถึงภาวะทางจิตใจและความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นจากสภาวะทางอารมณ์ทำให้มีการตอบสนองต่อผู้อื่นทางลบ เกิดความรู้สึกรับรู้ความมีคุณค่าในตนเองต่ำลง และมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้น ซึ่งหากนักกีฬาได้รับการช่วยเหลือให้ผ่านพ้นภาวะนี้ไปได้จะสามารถกลับมาเล่นกีฬาได้เช่นเดิม

2. การหมดไฟแบบถาวร จะมีผลทำให้นักกีฬาหยุดหรือเลิกการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาโดยไม่กลับเข้าสู่การเล่นกีฬาชนิดนั้นอีก แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้นักกีฬายังคงสามารถอยู่กับกีฬานั้น เช่น เงินรางวัล ความกดดัน และความคาดหวังจากพ่อแม่หรือผู้ฝึกสอนทำให้ตนเองยังคงต้องอยู่กับกีฬานั้นจะด้วยความจำเป็นหรือความความกดดันก็ตาม ในการศึกษาระยะยาวพบว่านักกีฬาที่ต้องอยู่กับการเล่นกีฬาด้วยปัจจัยที่มาจากความจำเป็นมากกว่าความต้องการที่แท้จริงหรือความสนุก ในไม่ช้านักกีฬาจะหยุดเล่นกีฬาไม่ช้าก็เร็วขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความอดทนของนักกีฬาแต่ละบุคคล
สาเหตุของการหมดไฟทางการกีฬา

1. สถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ปัจจัยที่เกิดจากด้านร่างกายเช่น การได้รับบาดเจ็บ การฝึกหนักเกิน พฤติกรรมของผู้ฝึกสอน และปัจจัยที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคม เช่น มีปัญหากับเพื่อนร่วมทีม การไม่ได้รับการสนับสนุนทางจิตใจหรือการได้รางวัล มีความเครียดมากจนเกินไป และการฝึกซ้อมขาดความหลากหลายซึ่งทำให้เกิดความซ้ำซากจำเจ

2. ปัจจัยภายในตัวบุคคล ประกอบด้วย ความคาดหวังผลสำเร็จสูงขาดความสนุกสนาน รับรู้ว่าตัวเองมีความสามารถไม่เพียงพอ มีกระบวนการจัดการความเครียดที่ไม่เหมาะสม และขาดการฝึกควบคุมตัวเองจากการศึกษาเหตุผลของการหมดไฟในนักกีฬาเยาวชน พบว่ามาจากการที่นักกีฬาเยาวชน มีสิ่งอื่นที่ต้องทำ ไม่ชอบผู้ฝึกสอน ทีมไม่มีความมุ่งมั่นเพียงพอไม่มีความสามัคคีในทีม ไม่สามารถเข้ากับเพื่อนร่วมทีมได้ ไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดีมีการฝึกหนักเกินไป ไม่มีความสามารถเพียงพอ ไม่ได้รับความสนใจ ไม่มีความสนุกสนานไม่ได้รับชัยชนะ และไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของทีม ตามลำดับ (Molinero et al., 2006)สำหรับประเทศไทย ฉัตรกมล และนฤพนธ์ (2551) พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการหมดไฟในนักกีฬา ประกอบด้วยปัจจัยด้านลักษณะนิสัย (การหล่อหลอมแบบมุ่งงาน การหล่อหลอมแบบมุ่งตัวเอง และความวิตกกังวล) และปัจจัยด้านสังคม (การฝึกหนักเกิน และการควบคุมจากปัจจัยภายนอก) โดยสาเหตุเบื้องต้นของการหมดไฟเริ่มมาจากลักษณะนิสัยยิ่งได้รับแรงเสริมหรืออิทธิพลจากสังคมมากเท่าใดจะยิ่งทำให้การหมดไฟเกิดได้มากขึ้นเท่านั้น

อ้างอิง : ชื่อหนังสือ จิตวิทยาการกีฬา ปีที่พิมพ์ 2556

            จัดพิมพ์โดย กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี

ลักษณะบุคลิกภาพของการเป็นนักกีฬาที่ดี นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จทางการกีฬาและมีความสุข ในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี ดังต่อไปนี้ 1. มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ 2. มีจิตใจเบิกบาน ยิ้มง่าย มีอารมณ์ขันอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์มองโลกในแง่ดี 3. วาจาสุภาพ ไพเราะ มีมารยาททางสังคม 4. แต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ 5. มีความกระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง 6. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น 7. มีเหตุผลและรู้จักใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจและกระทำสิ่งต่างๆ 8. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ มีความอดทนอดกลั้น 9. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ขณ ะเดียวกันพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 10. มีน้ำใจนักกีฬา อ้างอิง :  ชื่อหนังสือ  จิตวิทยาการกีฬา  ปีที่พิมพ์ 2556              จัดพิมพ์โดย  กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

Motivation in Sport( แรงจูงใจทางการกีฬา)

แรงจูงใจทางการกีฬา (Motivation in Sport)               แรงจูงใจ คือ พลังผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรม ผู้ที่มีแรงจูงใจจะใช้ความพยายามในการกระ ทำเพื่อไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละแต่ผู้ที่ ไม่มีแรงจูงใจจะไม่แสดงความพยายามหรือเลิกกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย             กระบวนการจูง ความต้องการของบุคคลในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีผลต่อการกำหนดทิศทาง ( Direction) และระดับความตั้งใจที่จะปฏิบัติ ( Intensity) ประเภทของแรงจูงใจ     1. แรงจูงใจภายใน แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากความต้องการภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจการเห็นคุณค่าในตนเอง ความพอใจ ความต้องการ เป็นต้น     2. แรงจูงใจภายนอก แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันที่มาจากภายนอกตัวบุคคล อาจเป็นการได้รับรางวัลเกียรติยศ ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับการยกย่องชมเชย               ผู้ฝึกสอน ควรเน้นให้นักกีฬารับรู้ว่าตนเองมีอิสระในการตัดสินใจหร...

Aggressive in sport(ความก้าวร้าวทางการกีฬา)

ความก้าวร้าวทางการกีฬา ( Aggressive in sport)         ความก้าวร้าวทางการกีฬา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะและการให้ความหมายของความก้าวร้าวทางการกีฬา เพราะหากกล่าวถึงความก้าวร้าวเพียงอย่างเดียวย่อมหมายถึงพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความรุนแรงเป็นพฤติกรรมที่ ไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ในทางการกีฬามีลักษณะการแสดงออกบางประการจัดอยู่ในกลุ่มลักษณะความก้าวร้าวเพียงแต่ไม่มีเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดอันตรายหรือการบาดเจ็บอย่างสาหัส การทำความเข้าใจกับความหมายของความก้าวร้าวช่วยลดปัญหาความเข้าใจผิดต่างๆ ได้อย่างมากคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่คนอื่นมีความคิดเห็นแตกต่างกับเรา การมีความคิดลบหรือความปรารถนาให้คนอื่นได้รับบาดเจ็บคือความหมายของความก้าวร้าวซึ่งความก้าวร้าวไม่ใช่ลักษณะของความรู้สึก เช่น ความโกรธหรือสภาวะทางอารมณ์อื่นๆ แต่ความก้าวร้าวเป็นลักษณะของพฤติกรรม ลักษณะของความก้าวร้าว ในทางการกีฬาแบ่งลักษณะของความก้าวร้าวที่เกิดขึ้นเป็น 3 ลักษณะคือ    1. พฤติกรรมความก้าวร้าวแบบโกรธแค้นหรือตั้งใจท ำร้าย เป็น ความก้าวร้าวที่มีวัตถุปร...